วิชาก้าวทักโลกศึกษา หน่วยการเรียนรู้ที่2

กฎหมายแพ่งกฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น เรื่องสภาพบุคคล ทรัพย์ หนี้ นิติกรรม ครอบครัว และมรดก เป็นต้น การกระทำผิดทางแพ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดต่อบุคคลที่เสียหายโดยเฉพาะไม่ทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนอย่างการกระทำผิดอาญา
กฎหมายพาณิชย์ คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัท การประกอบการรับขน และเรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน (เช่น เช็ค) กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ เป็นต้น
ในปัจจุบันกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" แบ่งออกเป็น 6 บรรพ คือ บรรพ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป บรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ บร
เหตุที่ประเทศไทยมีการจัดทำประมวลกฎหมายโดยการนำเอากฎหมายแพ่งมารวมกับกฎหมายพาณิรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวและบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก ชย์เป็นฉบับเดียวคล้ายกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยไม่ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายแพ่งเล่มหนึ่งและประมวลกฎหมายพาณิชย์อีกเล่มหนึ่งดังเช่นประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เพราะการค้าพาณิชย์ในขณะที่ร่างกฎหมายยังไม่เจริญก้าวหน้า อีกทั้ง หลักทั่วไปบางอย่างในกฎหมายแพ่งก็สามารถนำไปใช้กับกฎหมายพาณิชย์ได้ ความจำเป็นที่จะต้องแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากกฎหมายแพ่งดังนี้
1. กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายเอกชนว่าด้วยเรื่องสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ ระหว่างเอกชนต่อเอกชน ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย กฎหมายแพ่งของไทยบัญญัติในรูปของประมวลกฎหมายรวมกับกฎหมายพาณิชย์ รวมเรียกว่า กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีสาระพอสังเขป ได้ดังนี้
1.1 บุคคล หมายถึง สิ่งซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย มี 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล
1.1.1 บุคคลธรรมดา หมายถึง มนุษย์ซึ่งมีสภาพบุคคล และสิ้นสภาพบุคคลโดยการตายตามธรรมชาติ หรือตายโดยการสาบสูญ (กรณีปกติ 5 ปี และกรณีไม่ปกติ 2 ปี คือ อยู่ในระหว่างการรบสงคราม ประสบภัยในการเดินทาง เหตุอันตรายต่อชีวิต)
1.1.2 นิติบุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายรับรองให้เป็นสภาพบุคคลสมมุติ ให้มีสิทธิหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดา แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
ก) นิติบุคคลตามประมวลกกหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่
1) กระทรวง ทบวง กรม
2) วัดวาอาราม ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสงฆ์
3) ห้างหุ้นส่วนที่ได้จดทะเบียนแล้ว
4) บริษัทจำกัด
5) มูลนิธิ สมาคม
ข) นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ได้แก่ นิติบุคคลที่มีกฎหมายพิเศษรับรองสถานะ เช่น พรรคการเมือง รัฐวิสาหกิจ สหกรณ์
1.2 ทรัพย์ กฎหมายได้แยกลักษณะของทรัพย์สินออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
1.2.1 สังหาริมทรัพย์ ได้แก่
ก) ทรัพย์ทั้งหลายอันอาจเคลื่อนที่ได้ จากที่แห่งหนึ่งไปแห่งอื่น ไม่ว่าเคลื่อนด้วยแรงเดินแห่งตัวทรัพย์นั้นเอง หรือ ด้วยกำลังภายนอก เช่น
1) เคลื่อนที่ด้วยแรงของทรัพย์นั้นเอง เช่น หมู ช้าง วัว ควาย ฯลฯ
2) เคลื่อนด้วยกำลังภายนอก เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ
ข) กำลังแรงแห่งธรรมชาติอันอาจถือเอาได้ เช่น ก๊าซ กระแสไฟฟ้า
ค) สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิจำนำ สิทธิจำนอง สิทธิเครื่องหมายการค้า ฯลฯ
1.2.2 อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่
1) ที่ดิน
2) ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินนั้น เช่น ตึก โรงเรือน บ้าน ไม้ยืนต้นต่างๆ ฯลฯ
3) ทรัพย์อันประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน เช่น หิน กรวด ทราย
4) สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เช่น สิทธิครอบครอง สิทธิจำนอง กรรมสิทธิ์ในที่ดิน
1.3 นิติกรรม หมายถึง การกระทำใดๆ ที่ชอบด้วยกฎหมายและใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
การแสดงเจตนาของนิติกรรมอาจจะแสดงด้วยวาจา ลายลักษณ์อักษร หรือการนิ่งก็ได้
นิติกรรมแม้จะทำด้วยใจสมัคร ก็มีข้อบกพร่อง ถ้ากฎหมายเข้าไปควบคุมและไม่อนุญาตให้ทำ โดยมี 2 ลักษณะ
1. โมฆะกรรม หมายถึง การกระทำใดๆ ลงไป โดยเสียเปล่า ไม่มีผลผูกพันธ์ใดๆ ได้แก่
1.1 นิติกรรมที่ต้องห้ามโดยกฎหมายชัดแจ้ง เช่น ทำสัญญาจ้างให้กระทำผิดกฎหมาย จ้างฆ่าคน
1.2 นิติกรรมเป็นการพ้นวิสัย เช่น ทำสัญญาซื้อขายดวงอาทิตย์
1.3 นิติกรรมที่เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
1.4 นิติกรรมผิดแบบ เช่น การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ การเช่าซื้อต้องทำหนังสือ หากไม่ปฏิบัติก็ตกเป็นโมฆะ
2. โมฆียกรรม หมายถึง นิติกรรมที่มีผลต่อคู่กรณี แต่ไม่สมบูรณ์โดยกฎหมาย เนื่องจากความสามารถของผู้กระทำนิติกรรม เช่น ผู้เยาว์ ผู้เสมือนไร้ความสามารถ ผู้ไร้ความสามารถ เป็นต้น หากมีการให้การรับรอง นิติกรรมนั้นก็สมบูรณ์ หรือ บอกล้างได้ภายใน 10 ปี ก็จะตกเป็นโมฆะกรรม
1.4 สัญญา เป็นนิติกรรมชนิดหนึ่ง สัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องมีคู่สัญญาถูกต้องตามสาระสำคัญ และมีวัตถุประสงค์ไม่ต้องห้ามตามกำหมาย หรือขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ได้แก่
1.4.1 สัญญากู้ยืมเงิน
การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้ยืม จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้
1.4.2 สัญญาซื้อขาย
สัญญาซื้อขาย คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อ โดยผู้ซื้อตกลงจะชำระราคาทรัพย์สินให้แก่ผู้ขาย หากพูดถึงการซื้อขาย ก็จะต้องกล่าวถึง สัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งส่วนให้จะทำสัญญากันก่อน ก่อนซื้อขายส่งมอบทรัพย์สินกันจริง หลักเกณฑ์พิจารณาได้ดังนี้
สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคำมั่นในการซื้อขาย ทรัพย์สินประเภท อสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ อย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางเงินมัดจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ และกฎหมายยังบังคับถึง สัญญาซื้อขาย สังหาริมทรัพย์ ที่มีราคาตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไปด้วย ที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
สัญญาซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (พนักงานที่ดิน) หากไม่ทำถือว่าเป็นโมฆะ
1.4.3 สัญญาขายฝาก
สัญญาขายฝาก หมายถึง สัญญาซื้อขายที่ผู้ขาย มีสิทธิไถ่ถอนได้ทรัพย์คืนตามเวลาที่กำหนด หากไม่ไถ่ถอนภายในกำหนด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ก็จะตกไปยังผู้ซื้อนับตั้งแต่เวลาที่ทำสัญญากัน
1.4.4 สัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อ หมายถึง สัญญาที่เจ้าของทรัพย์ เอาทรัพย์ออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือให้ทรัพย์สินนั้นแก่ผู้เช่า โดยมีเงื่อนไข ว่าต้องชำระเงินครบตามคราวที่กำหนด และที่สำคัญ สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้นถือเป็นโมฆะ
เจ้าของทรัพย์บอกเลิกสัญญาได้ ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า 2 งวดติดต่อกัน หรือผู้เช่าซื้อผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสำคัญ โดยผู้ให้เช่าซื้อได้เงินค่าเช่าที่ชำระไปแล้วทั้งหมดและเรียกทรัพย์คืนได้
1.4.5 สัญญาจำนอง
สัญญาจำนอง หมายถึง สัญญาที่ผู้จำนองเอาทรัพย์สิน ประเภท อสังหาริมทรัพย์ เรือ แพ หรือ เครื่องจักร ไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันการชำระหนี้
ลักษณะสำคัญของสัญญาจำนอง
1. ผู้จำนองต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่จำนอง
2. ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่
3. ผู้จำนองจะนำทรัพย์สินที่ติดจำนองไปจำนองแก่ผู้อื่นอีกในระหว่างที่สัญญาจำนองอันแรกยังมีอายุอยู่ก็ได้
1.4.6 สัญญาจำนำ
สัญญาจำนำ หมายถึง สัญญาที่ผู้จำนำ ส่งมอบทรัพย์สินประเภท สังหาริมทรัพย์ แก่ผู้รับจำนำและตกลงว่าจะมาไถ่ถอนตามวันและเวลาที่กำหนด หากไม่มาไถ่ถอน ผู้รับจำนำมีสิทธิในทรัพย์สินนั้น
1.4.7 สัญญาค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกัน หมายถึง การที่ผู้ค้ำประกันทำสัญญากับเจ้าหนี้ว่า เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แล้ว ตนจะชำระหนี้แทน สัญญาค้ำประกัน ต้องทำเป็นหนังสือ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้
1.5 ครอบครัว
1.5.1 การหมั้น หมายถึง การที่ฝ่ายชาย ตกลงกับฝ่ายหญิง ว่าจะสมรสกับหญิงนั้น โดยมีของหมั้นเป็นประกัน สาระสำคัญของการหมั้น
1. การหมั้นนั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ผู้เยาว์จะทำการหมั้นต้องได้รับความยินยอมจากบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง
2. ถ้าหมั้นแล้วสมรส ของหมั้นจะกลายเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายหญิง
3. ถ้าหมั้นแล้วไม่สมรส
3.1 เนื่องจากความผิดของฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงยึดของหมั้นได้
3.2 เนื่องจากความผิดของฝ่ายหญิง หญิงต้องคืนของหมั้นให้ฝ่ายชาย ชายเรียกสินสอดคืนได้
3.3 ฝ่ายที่เสียหายเรียกค่าทดแทนได้
3.4 จะฟ้องให้ศาลบังคับให้มีการสมรสไม่ได้
1.5.2 การสมรส
1. การสมรสจะกระทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์ หากอายุต่ำกว่านี้ต้องให้ศาลอนุญาต
2. การสมรส จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ จดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียน
ผู้ที่กฎหมายห้ามสมรส
1. ชายหรือหญิงที่วิกลจริต หรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
2. ชายหญิงที่เป็นญาติสืบสายโลหิตเดียวกัน เช่น พ่อแม่ – ลูก หรือ พี่ – น้อง ที่มีพ่อแม่ร่วมกัน
3. ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรม
4. ชายหรือหญิงที่มีคู่สมรสอยู่แล้ว
หญิงที่เคยสมรสแล้ว เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงไม่ว่า เพราะสามีตาย หรือหย่า จะสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อ
1. การสมรสได้สิ้นสุดลงไปอย่างน้อย 310 วัน
2. สมรสกับคู่สมรสเดิม
3. คลอดบุตรในระหว่างนั้น
4. มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ตั้งครรภ์
5. ศาลสั่งให้สมรสได้
การสิ้นสุดของการสมรส
1. ตาย ไม่ว่าจะตายโดยธรรมชาติ หรือสาบสูญ
2. การหย่า
2.1 การหย่าโดยความยินยอมกันทั้งสองฝ่าย ต้องทำเป็นหนังสือ โดยมีพยานอย่างน้อย 2 คน หรือ จดทะเบียนหย่า
2.2 การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
- เพราะมีอีกฝ่ายหนึ่งมีความผิด เช่น สามีอุปการะยกย่องหญิงอื่นฉันท์ภรรยา ภรรยามีชู้ สามีหรือภรรยาไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง หรือ ประพฤติชั่ว
- เพราะการสาบสูญ หรือ ความเจ็บป่วย เช่น ร่วมประเวณีกันไม่ได้
1.5.3 การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
1. บุคคลผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องอายุมากกว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี หากผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมยังเป็นผู้เยาว์ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หรือ ผู้แทน โดยชอบธรรม และคู่สมรส ด้วย (ยกเว้นคู่สมรสวิกลจริตหรือสาบสูญเกินกว่า 1 ปี )
2. การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ ถ้าจดทะเบียนตามกฎหมาย บุตรบุญธรรมจะมีฐานะเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกำหมายทุกประการ ขณะเดียวกันก็ไม่เสียสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ให้กำเนิด กฎหมายถือว่า บิดา-มารดาโดยกำเนิด หมดอำนาจปกครองนับตั้งแต่วันที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น
3. การเลิกรับบุตรบุญธรรม จะเลิกได้เมื่อทั้งคู่ยินยอมซึ่งกันและกัน หากบุตรบุญธรรมอายุต่ำกว่า 15 ปี จะฟ้องเลิกรับบุตรบุญธรรมไม่ได้ เว้นแต่ผู้มีสิทธิให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรมยินยอม
4. เมื่อเลิกรับบุตรบุญธรรม บุตรบุญธรรมกลับคืนสู่ฐานะในครอบครัวเดิม
1.5.4 มรดก
1. มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่เจ้าของมรดกตายหรือสาบสูญ
2. ทายาท
2.1 ทายาทโดยธรรม ได้แก่ คู่สมรส และญาติสนิท สิทธิการรับมรดกจะแบ่งให้ลดลงตามความห่างของญาติ ถ้าเจ้าของมรดก มีบิดามารดา คู่สมรสและบุตรทุกคน จะได้คนละเท่ากันคนละส่วน
2.2 ทายาทโดยพินัยกรรม
ในกรณีเจ้าของมรดก มีคู่สมรสต้องแบ่งทรัพย์สินแก่อีกฝ่ายหนึ่งก่อน ส่วนที่เหลือจึงเป็นมรดกตกทอดต่อไป
2.3 ผู้ที่จะทำพินัยกรรมได้ต้องมีอายุ 1 5ปีขึ้นไป และต้องไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถ
2.4 การเสียมรดก
2.4.1 ทายาทโดยชอบธรรมยักย้ายถ่ายเท ปิดบังทรัพย์มรดก โดยทุจริต
2.4.2 ทายาทตามพินัยกรรม หลอกลวงหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทำพินัยกรรมขึ้น
กฎหมายอาญากฎหมายอาญา ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้สำหรับควบคุมความประพฤติของบุคคลในสังคม เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุข ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายฉบับนี้จะต้องได้รับโทษทางอาญา โทษทางอาญา แบ่งได้ 5 ชนิด คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน (ริบเอาสิ่งของเงินทอง เป็นของรัฐ)การที่จะต้องรับผิดในทางอาญา ก็ต่อเมื่อได้กระทำการใดๆ ในขณะที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่า การกระทำนั้นๆ เป็นความผิดทางอาญา และ บุคคลนั้นต้องได้กระทำไปโดยมีเจตนาด้วย เว้นแต่ว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่า แม้จะไม่ได้มีเจตนา ก็ให้ถือว่าเป็นความผิด เช่น กระทำโดยประมาท กระทำไปโดยไม่มีเจตนา เป็นต้น ความผิดทางอาญา มี 2 ประเภท คือความผิดต่อแผ่นดิน ยอมความกันไม่ได้ เช่น ฆ่าคนตาย ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดที่ยอมความกันได้ เช่น ยักยอกทรัพย์ หมิ่นประมาท ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ที่สำคัญ ซึ่งเกี่ยวกับข้องการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนของหมออนามัย เช่น ความผิดเกี่ยวกับการปกครองและตำแหน่งหน้าที่ราชการ ทรัพย์ ชีวิตร่างกายผู้อื่น การปลอม เสรีภาพและชื่อเสียงความผิดเกี่ยวกับการปกครอง1.ให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าพนักงาน (ให้สินบนเจ้าพนักงาน) (มาตรา 144) เพื่อจูงใจให้กระทำการ หรือไม่ให้กระทำการหรือประวิงการกระทำ อันมิชอบด้วยหน้าที่ มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ2.เจ้าพนักงานเรียก รับ หรือยอมจะรับ ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด สำหรับตนเองหรือผู้อื่น (เจ้าพนักงานเรียก รับสินบน) (มาตรา 149) เพื่อกระทำการ หรือไม่กระทำการอย่างใด ในตำแหน่งหน้าที่ ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือไม่ชอบด้วยหน้าที่ก็ตาม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5-20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 2,000-40,000 บาท หรือประหารชีวิตเจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต (มาตรา 147) คือ เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้น เช่น เป็นเจ้าหน้าที่การเงิน ทุจริตเงินของทางราชการ การเอาของหลวงไปเป็นของตน มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5-20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 2,000-40,000 บาท คำว่า “โดยทุจริต” ตามกฎหมายอาญา หมายถึง เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยทุจริต (มาตรา 151) คือ เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยทุจริต อันเสียหายแก่รัฐ หรือเจ้าของทรัพย์นั้น เช่น ใช้อำนาจอนุมัติจัดซื้อสิ่งของโดยทุจริต มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5-20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 2,000-40,000 บาทเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ (มาตรา 157) คือ ทำไปเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือว่าเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับ ตั้งแต่ 2,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเจ้าพนักงานปลอมเอกสาร (มาตรา 161) คือ เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสาร กรอกข้อความลงในเอกสาร ดูแลรักษาเอกสาร แล้วทำการปลอมเอกสาร มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาทเจ้าพนักงานทำเอกสารเท็จ (มาตรา 162) คือ เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสาร กรอกข้อความลงในเอกสาร ได้รับรองเป็นหลักฐานซึ่งเป็นความเท็จ ไม่จดข้อความซึ่งตนต้องจด หรือจดเปลี่ยนแปลงข้อความ เช่น การออกใบรับรองแพทย์เท็จ ใบชันสูตรเท็จ มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 14,000 บาทเจ้าพนักงานละทิ้งงาน (มาตรา 166) คือ เป็นเจ้าพนักงาน แล้วละทิ้งงาน หรือกระทำการอย่างใดๆ เพื่อให้งานหยุดชะงักหรือเสียหาย โดยร่วมกันทำตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป เช่น พยาบาล 7 คน ร่วมกันหยุดงานไม่ยอมขึ้นเวรพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยเดือดร้อน มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดอาญาเกี่ยวกับทรัพย์ 1. ลักทรัพย์ (ม.334) มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท 2. รีดทรัพย์ (ม.338) มีโทษจำคุก ตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000-20,000 บาทฉ้อโกงทรัพย์ (ม.341) คือ การทุจริต หลอกลวงผู้อื่นโดยแสดงข้อความเท็จ ปกปิดความจริง ซึ่งการหลอกลวงได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ที่ถูกหลอกลวงหรือจากบุคคลที่สาม มีโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ความผิดนี้ยอมความกันได้)ยักยอกทรัพย์ (ม.352) มีโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ความผิดนี้ยอมความกันได้)รับของโจร (ม.357) คือ การช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย จ่ายแจก แลกเปลี่ยน ช่วยหาคนซื้อ ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อไว้ รับจำนำ รับฝาก รับไว้ รับดูแล ซึ่งทรัพย์ที่ได้มาจากการทำความผิดในการลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอกทรัพย์ เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ มีโทษจำคุก ไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทำให้เสียทรัพย์ (ม.358) คือ การทำให้เสียหาย การทำลาย การทำให้เสื่อมค่า ทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่นหรือของที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยมีโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ความผิดนี้ยอมความกันได้) บุกรุก (ม.362) คือ การเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครอง หรือเข้าไปกระทำการรบกวนการครอบครองโดยปกติสุข เช่น การเข้าไปรบกวน เข้าไปขโมยของ เข้าไปตัดต้นไม้ของเขา เข้าไปอยู่ในบ้านเรือนหรือที่ดินของคนอื่นโดยไม่มีสิทธิ โดยเจ้าของหรือผู้ครอบครองเขาไม่ยินยอมมีโทษจำคุก ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ความผิดนี้ยอมความกันได้)
ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายผู้อื่นฆ่าผู้อื่นตาย (ม.288) มีโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 15-20 ปี ถ้าเป็นการฆ่าบุพการี (พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย) ฆ่าเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ฆ่าโดยทารุณโหดร้ายหรือทรมาน มีโทษประหารชีวิตกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย (ม.291) เช่น รักษาผู้ป่วย ไม่รอบคอบ ประมาทเลินเล่อทำให้เขาตาย ขับรถประมาทชนคนตาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาททำร้ายร่างกาย (ม.295) ทำให้เกิดอันตรายแก่กาย หรือจิตใจของผู้อื่น เช่น ตบหน้าจนบวมช้ำ รักษาบาดแผล หายได้ไม่เกิน 20 วัน มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับทำร้ายผู้อื่นยังไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ (มาตรา 391) มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ5. ทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุได้รับอันตรายสาหัส (ม.297) เช่น เสียอวัยวะสำคัญ แขน ขา ตาบอด หูหนวก เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หน้าเสียโฉมติดตัว เจ็บป่วยมีอาการทุกขเวทนา ต้องรักษาบาดแผล เกินกว่า 20 วัน มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 10 ปี6. ทำให้แท้งลูก (ม.301-305) คือ ทำให้หญิงแท้งลูก· ผู้หญิงที่ทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้คนอื่นทำให้ตนเองแท้งลูก มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ · ผู้ที่ทำแท้งให้แก่ผู้หญิงโดยหญิงนั้นยินยอม มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าทำแล้วหญิงได้รับอันตรายสาหัส มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 14,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าหญิงตาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท · การทำแท้งโดยหญิงยินยอม ที่กระทำโดยนายแพทย์และมีความจำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น หรือมีครรภ์เนื่องจากกระทำความผิดอาญาถูกข่มขืนกระทำชำเรา หญิงที่ยอมให้ทำแท้งหรือแพทย์ที่ทำแท้ง ไม่มีความผิด · ผู้ที่ทำแท้งให้แก่ผู้หญิงโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับ ไม่เกิน 14,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าทำแล้วหญิงได้รับอันตรายสาหัส มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000-20,000 บาท ถ้าหญิงตาย มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5-20 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000-40,000 บาท7. ทอดทิ้งคนป่วย (ม.307) คือ มีหน้าที่ตามกฎหมายหรือตามสัญญา ต้องดูแลผู้ที่พึ่งตนเองไม่ได้ เพราะอายุ ความเจ็บป่วย กายพิการหรือจิตพิการ แล้วทอดทิ้งหน้าที่นั้นเสียโดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร คือ การปลอมเอกสาร แจ้งให้จดข้อความเท็จ ผู้มีอาชีพรับรองเอกสารอันเป็นเท็จปลอมเอกสาร (มาตรา 264) คือ การปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือบางส่วน เติมหรือตัดทอนข้อความ แก้ไขเอกสารที่แท้จริง ประทับตราปลอม ลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่จะน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้ทำให้เพื่อให้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับ ไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับปลอมเอกสารสิทธิหรือเอกสารราชการ (มาตรา 265) มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 - 10,000 บาทปลอมเอกสารสำคัญ (มาตรา 266) คือ เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ เช่น โฉนดที่ดิน ปลอมพินัยกรรม ใบหุ้น หุ้นกู้ และใบสำคัญ ตั๋วเงิน บัตรเงินฝาก มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 - 200,000 บาททำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ (มาตรา 269) คือ ผู้ประกอบการงานในวิชาแพทย์ กฎหมาย บัญชีหรือวิชาชีพอื่นใด ทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อผู้อื่นหรือประชาชน มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง1. เปิดเผยความลับ (มาตรา 322-323) · เปิดเผยความลับในเอกสาร คือ ผู้ที่เปิดผนึกหรือเอาจดหมาย โทรเลข และเอกสารปิดผนึกของคนอื่นไป เพื่อล่วงรู้ข้อความ เพื่อนำข้อความออกเปิดเผย ถ้าการกระทำนั้นน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ · เปิดเผยความลับในการประกอบอาชีพ คือ ผู้ที่ล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่น เพราะตนเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเหตุที่เป็นผู้ประกอบอาชีพ แพทย์ เภสัชกร คนจำหน่ายยา ผดุงครรภ์ พยาบาล นักบวช หมอความ ทนายความ ผู้สอบบัญชี หรือเป็นผู้ช่วยในการประกอบอาชีพเหล่านั้น แล้วเปิดเผยความลับในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับดูหมิ่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา (มาตรา 393) มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับหมิ่นประมาท (มาตรา 326) คือ การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่ 3 โดยที่น่าจะทำให้เขาเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 4. หมิ่นประมาทโดยผ่านสื่อต่างๆ (มาตรา 327) คือ โฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ หรือตัวอักษรทำให้ปรากฏไม่ว่าจะด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง สิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ บันทึกอักษร การกระจายเสียง กระจายภาพ การป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท กรณีที่ไม่ถือว่าเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท (มาตรา 329) คือ การแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนเองหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตน ตามคลองธรรมในฐานะเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุมกรณีเป็นการหมิ่นประมาท แต่ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 330) คือ กรณีพิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง แต่ห้าม ไม่ให้พิสูจน์ถ้าข้อที่หาว่าหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน สรุป หากเป็นเรื่องส่วนตัวถ้าการพิสูจน์ไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนแล้ว “ถ้าเรื่องที่หมิ่นประมาทยิ่งเป็นความจริง ผู้ที่หมิ่นประมาทก็ยิ่งมีความผิด”การกระทำความผิดอาญาดังกล่าว นอกจากจะได้รับโทษในทางอาญาแล้ว หากทำให้ผู้อื่นเสียหายจะต้องชดใช้ความเสียหายในทางแพ่งให้แก่เขาด้วย และถ้าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็จะมีความผิดทางวินัยทั้งประเภทร้ายแรงและไม่ร้ายแรงอีกด้วย