วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553
การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ระบบการบริหารราชการแผ่นดินประเทศทุกประเทศจะต้องจัดการเรื่องระเบียบการปกครอง การบริหารงานระหว่างรัฐกับประชาชน เพื่อให้เกิดความสงบสุขและความสะดวกให้แก่ประชาชน รัฐจึงออกกฎหมายการปกครองออกมาใช้บังคับประชาชนความหมายของกฎหมายการปกครองในที่นี้ หมายถึง กฎหมายที่วางระเบียบการบริหารภายในประเทศ โดยวิธีการแบ่งอำนาจการบริหารงานตั้งแต่สูงสุดลงมาจนถึงระดับต่ำสุด เป็นการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของราชการผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหารโดยหลักทั่วไปทางวิชาการกฎหมายการปกครอง ได้จัดระเบียบการปกครองประเทศหรือที่เรียกว่า จัดระเบียบราชการบริหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือการปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization) หมายถึง การจัดระเบียบการปกครอง โดยรวมอำนาจการปกครองทั้งหมดไว้ที่ส่วนกลาง พนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางและต่างจังหวัดไดรับการแต่งตั้งถอดถอนและบังคับบัญชาจากส่วนกลางเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่ส่วนกลางกำหนดขึ้น เช่น การปกครองที่แบ่งส่วนราชการออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด เป็นต้นการปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization) หมายถึง การจัดระเบียบการ ปกครองโดยวิธีการยกฐานะท้องถิ่นหนึ่งขึ้นเป็นนิติบุคคลแล้วให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระโดยการบริหารส่วนกลางจะไม่เข้ามาบังคับบัญชาใด ๆ นอกจากคอยดูแลให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ภายในขอบเขตของกฎหมายจัดตั้งท้องถิ่นเท่านั้น เช่น การปกครองของเทศบาลในจังหวัดต่าง ๆ เทศบาลกรุงเทพมหานคร หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้นกฎหมายการปกครองที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ได้ใช้รูปแบบการปกครอง ทั้งประเภทที่กล่าวมาแล้ว คือ ใช้ทั้งแบบรวมอำนาจและกระจายอำนาจ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการปฎิบัติงานของราชการ ให้มีสมรรถภาพ การกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆให้ชัดเจน เพื่อมิให้มีการปฎบัติงานที่ซ้ำซ้อนระหว่างส่วนราชการต่างๆและเพื่อให้การบริหารในระดับต่างๆมีเอกภาพสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนดได้ดีดังนั้น รัฐบาลจึงออกกฎหมายการปกครองขึ้นมา คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และฉบับที่ 5 พ.ศ.2545และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พอสรุปดังนี้ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ กติกาที่ยอมรับเป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้การบริหารราชการมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ อันได้แก่ ขนบธรรม-เนียมการปกครอง รัฐธรรมนูญและความจำเป็นในการบริหารงานเพื่อแก้ไขสถานการณ์การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือระเบียบบริหารราชการส่วนกลางระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น การบริหารราชการส่วนกลางการบริหารราชการส่วนกลางหมายถึง หน่วยราชการจัดดำเนินการและบริหารโดยราชการของ ส่วนกลางที่มีอำนาจในการบริหารเพื่อสนองความต้องการของประชาชน จะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ หรือมีความหมายว่า เป็นการรวมอำนาจในการสั่งการ การกำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการสำคัญ ๆ ไว้ที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตามหลักการรวมอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง จัดแบ่งออกได้ดังนี้ สำนักนายกรัฐมนตรีกระทรวง หรือทบวงที่มีฐานะเทียบเท่า กระทรวงทบวง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงกรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวงการจัดตั้ง ยุบ ยกเลิก หน่วยงาน ตามข้อ 1- 4 ดังกล่าวนี้ จะออกกฎหมายเป็น พระราชบัญญัติและมีฐานะเป็นนิติบุคคลสำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกระทรวง อยู่ภายใต้การปกครองบังคับบัญชาของนากยรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นเครี่องของนากยรัฐมนตรีในเรื่องที่เป็นหัวใจของการบิหารราชการหรือเกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี กิจการเกี่ยวกับการทำงบประมาณแผ่นดินและราชการอื่น ตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการอื่น ๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งโดยเฉพาะสำนักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของสำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกันนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี และจะให้มีรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีหรือทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติก็ได้กระทรวง หมายถึง ส่วนราชการที่แบ่งออกเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ที่สุด รับผิดชอบงานที่กำหนดในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบาย และแผนการปฏิบัติราชการกระทรวง จะจัดระเบียบบริหารราชการโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีสำนักนโยบายและแผนเป็นส่วนราชการภายในขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกระทรวงหนึ่งๆมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนัมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวง และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้ ให้มีปลัดกระทรวงมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมราชการประจะในกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจำในกระทรวงจากรับมนตรี โดยมีรองปลัดกระทรวงหรือผู้ช่วยปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งการและปฏิบัติราชการแทน การจัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้(1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี(2) สำนักงานปลัดกระทรวง(3) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางทบวงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้
ศาลยุติธรรมไทย
ศาลยุติธรรม (The Court of Justice) เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่นศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่ที่มีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่นศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลายศาลชั้นต้น เป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นถัดจากศาลอุทธรณ์ลงมา เป็นศาลที่พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเป็นครั้งแรก เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งเป็นอย่างอื่นศาลชั้นต้น ได้แก่ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่นศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น รวมทั้งคดีอื่นใดที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา แล้วแต่กรณีศาลจังหวัด มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวง มีเขตอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้น ๆศาลแขวง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีและมีอำนาจทำการไต่สวน หรือมีคำสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามที่กฎหมายกำหนดไว้ศาลชำนาญพิเศษ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลชำนาญพิเศษนั้น ๆ เช่น ศาลภาษีอากรกลาง มีอำนาจพิจารณาคดีภาษีอากร ศาลล้มละลายกลาง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลแรงงาน ศาลเยาวชนและครอบครัวแต่ทั้งนี้ ในส่วนของศาลชำนาญพิเศษ บางตำราอาจจัดเป็นคนละประเภทกับศาลชั้นต้น เพราะตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม อันเป็นกฎหมายฉบับหนึ่ง มีศักดิ์เป็นพระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการจัดแบ่งประเภทของศาลยุติธรรม เขตอำนาจศาลและองค์คณะผู้พิพากษา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๓ ดังนี้มาตรา ๓ ศาลชั้นต้น (1) สำหรับกรุงเทพมหานคร ได้แก่ (ก) ศาลแขวง (ข) ศาลจังหวัดมีนบุรี (ค) ศาลแพ่งธนบุรีและศาลอาญาธนบุรี (ง) ศาลแพ่งกรุงเทพใต้และศาลอาญากรุงเทพใต้ (จ) ศาลแพ่งและศาลอาญา (2) สำหรับจังหวัดอื่น ๆ นอกจากกรุงเทพมหานคร ได้แก่ (ก) ศาลแขวง (ข) ศาลจังหวัดปัจจุบันนี้ในกรุงเทพมหานคร นอกจากจะมีศาลจังหวัดมีนบุรีแล้ว ยังมีศาลจังหวัดดุสิต ศาลจังหวัดตลิ่งชัน และศาลจังหวัดพระโขนง เพิ่มเติมขึ้นมา โดยยกฐานะจากศาลแขวงดุสิต ศาลแขวงตลิ่งชัน และศาลแขวงพระโขนง ให้เป็นศาลจังหวัด เนื่องด้วยเป็นการเพิ่มเขตอำนาจให้กว้างขวางมากขึ้น สอดรับกับปริมาณคดีที่เพิ่มสูงขึ้นและในอนาคต อาจมีการยกฐานะศาลแขวงปทุมวัน รวมถึงศาลแขวงอื่น ๆ ให้มีฐานะเป็นศาลจังหวัดอีกด้วยส่วนศาลทหาร ไม่ใช่ศาลยุติธรรม แต่เป็นศาลชั้นต้นตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารศาลอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาคศาลอุทธรณ์ คือ ศาลสูงถัดจากศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อยู่ในเขตอำนาจ กับมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่นในเขตท้องที่ที่มิได้อยู่ในเขตศาลอุทธรณ์ภาค เว้นแต่คดีที่อยู่นอกเขตศาลอุทธรณ์จะอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ก็ได้ ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งที่อุทธรณ์เช่นนั้นก็ได้ เว้นแต่คดีนั้นจะได้โอนมาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ทำการศาลอุทธรณ์ ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานครศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลยุติธรรมสูงสุด ที่มีอยู่เพียงศาลเดียวศาลฎีกา เป็นศาลยุติธรรมชั้นสูงสุด มีเขตอำนาจทั่วทั้งราชอาณาจักร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายว่าด้วยการฎีกา และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกาไม่ต้องผ่านศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามกฎหมายเฉพาะ เช่น คดีแรงงาน คดีภาษีอากร คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ คดีล้มละลายเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ เป็นต้น และคดีที่กฎหมายอื่นบัญญัติให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษา รวมทั้งมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดหรือสั่งคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลฎีกาตามกฎหมาย (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๓) คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลฎีกาเป็นที่สุด (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๓)ศาลฎีกามีองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๗) แต่หากคดีใดมีปัญหาสำคัญ เมื่อประธานศาลฎีกาเห็นว่าควรให้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้นำปัญหาดังกล่าวเข้าสู่การวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ หรือเมื่อเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติเป็นการเฉพาะว่าให้คดีเรื่องใดวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๐ วรรคสอง) ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกาทุกคนซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในวันที่มีการจัดประชุมใหญ่ แต่ทั้งนี้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งหมดองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน แต่หากคดีใดมีปัญหาสำคัญ ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้นำปัญหาดังกล่าวเข้าสู่การวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกาทุกคนซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในวันที่มีการจัดประชุมใหญ่ แต่ทั้งนี้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งหมดศาลฎีกามีแผนกคดีพิเศษทั้งสิ้น 11 แผนก เพื่อวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่อาศัยความชำนาญพิเศษ มีผู้พิพากษาศาลฎีกาประจำแผนก ๆ ละ ประมาณ 10 คน โดยแผนกคดีพิเศษในศาลฎีกาประกอบด้วยแผนกคดีที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย 10 แผนก ได้แก่แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวแผนกคดีแรงงานแผนกคดีภาษีอากรแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศแผนกคดีล้มละลายแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจแผนกคดีสิ่งแวดล้อมแผนกคดีผู้บริโภคแผนกคดีเลือกตั้งและแผนกคดีที่ศาลฎีกาแบ่งเป็นการภายใน 1 แผนกคือแผนกคดีปกครอง (ภายใน)นอกจากผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดคดีแล้ว ศาลฎีกามีกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและค้นคว้าปัญหาข้อกฎหมาย ตลอดจนช่วยตรวจและแก้ไขปรับปรุงร่างคำพิพากษาศาลฎีกา เพื่อเป็นหลักประกันในด้านความถูกต้องความรวดเร็ว และความเป็นธรรมแก่ประชาชนนอกจากอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายต่าง ๆ คือ1.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๕๕ บัญญัติให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีหน้าที่คัดเลือกผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา จำนวน 5 คน ไปเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ2.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๑๓๘ (๒) บัญญัติให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีหน้าที่สรรหาผู้สมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้ง จำนวน ๕ คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา เพื่อเลือกเป็นกรรมการการเลือกตั้งต่อไป3.) พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๕ (๑) บัญญัติให้ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีหน้าที่คัดเลือกผู้มีความรู้ และมีประสบการณ์เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม จำนวน 1 คน ไปเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล4.) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ ให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาไว้รวม 2 กรณีกรณีแรก เป็นกรณีตามมาตรา ๓๔ วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเพื่อให้วินิจฉัยว่ามีสิทธิรับเลือกตั้งหรือไม่ และศาลฎีกาต้องพิจารณาและมีคำวินิจฉัยให้แล้วเสร็จก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน เมื่อศาลฎีกามีคำวินิจฉัยเช่นใด ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลฎีกาโดยเร็วกรณีที่สอง เป็นกรณีตามมาตรา ๓๔/๑ วรรคหนึ่ง ก่อนวันเลือกตั้งถ้าปรากฏหลักฐานว่าผู้สมัครผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งดำเนินการสอบสวนโดยเร็ว ถ้าเห็นว่าผู้สมัครผู้นั้นขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาวินิจฉัยให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้น ซึ่งในกรณีที่สองนี้หากถึงวันเลือกตั้ง ถ้าปรากฏว่าไม่มีการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาตามวรรคหนึ่งหรือมีการยื่นคำร้องแล้ว แต่ศาลฎีกายังไม่มีคำวินิจฉัย ให้การพิจารณาเป็นอันยุติและให้ดำเนินการเลือกตั้งไปตามประกาศการรับสมัครที่มีผลอยู่ในวันเลือกตั้งสำหรับแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกานั้น จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๗๒ วรรคสองและวรรคสาม, มาตรา ๓๐๘ เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่นซึ่งถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น รวมทั้งกรณีบุคคลอื่นที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนด้วยองค์คณะผู้พิพากษาในแผนกนี้ประกอบด้วย ผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวน 9 คน ที่คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ขึ้นนั่งพิจารณาคดีเช่นเดียวกับศาลชั้นต้น แต่การพิจารณาคดีจะแตกต่างจากวิธีพิจารณาที่ใช้ในคดีทั่วไปเนื่องจากเป็นระบบไต่สวน ซึ่งศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ตามวิธีพิจารณาคดีที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๒
รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)
รายชื่อคณะรัฐมนตรี รัฐบาลอภิสิทธิ์นายกรัฐมนตรี : นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะรองนายกรัฐมนตรี : นายสุเทพ เทือกสุบรรณ, นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ, พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี : นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย, นายวีระชัย วีระเมธีกุลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง : กรณ์ จาติกวณิชรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง : นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์, นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์รัฐมนตรี่ว่าการกระทรวงพาณิชย์ : นางพรทิวา นาคาสัย จากพรรคภูมิใจไทยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ : นายอลงกรณ์ พลบุตรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม : พล. อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณรัฐมนตรีการท่องเที่ยวและกีฬา : นายชุมพล ศิลปอาชารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ : นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ : นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์, นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย : นายชวรัตน์ ชาญวีรกูลรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย : นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์, นายถาวร เสนเนียมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน : นายไพฑูรย์ แก้วทองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : คุณหญิงกัลยา โสภณพานิชรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน : นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร : นายธีระ วงศ์สมุทรรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร : นายชาติชาย พุคยาภรณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม : นายธีระ สลักเพชรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ : ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี จาก พรรคเพื่อแผ่นดินรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ : นายวิฑูรย์ นามบุตรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม : นายชาญชัย ชัยรุ่งเรืองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม : นายโสภณ ซารัมย์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม : นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ, นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ : นายกษิต ภิรมย์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : นายสุวิทย์ คุณกิตติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม : นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาครัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข : นายวิทยา แก้วภราดัยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข : นายมานิต นพอมรบดีเลขาธิการนายกรัฐมนตรี : นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี : นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 - นายสุธา ชันแสง ลาออกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 - นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล พ้นจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ [1]วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 - นายวิชาญ มีนชัยนันท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 - นายจักรภพ เพ็ญแข ลาออกจากรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 - นายไชยา สะสมทรัพย์ พ้นจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 - นายนพดล ปัทมะ ลาออกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม[2]วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 - นายเตช บุนนาค เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 -พลตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนายมั่น พัธโนทัย เป็นรองนายกรัฐมนตรีนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังนายพิชัย นริพทะพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังนายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นายไชยา สะสมทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์นายพิเชษฐ์ ตันเจริญ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์นายประสงค์ โฆษิตานนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551 - นายเตช บุนนาค ลาออกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551 - นายสาโรจน์ ชวนะวิรัช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 เนื่องจาก ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า นาย สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กระทำการที่ขัดต่อ รัฐธรรมนูญมาตรา 267 และมาตรา 182 วรรค 1 (7) เนื่องจากการที่นายสมัครได้จัดรายการโทรทัศน์ ชิมไปบ่นไป และ ยกโขยง 6 โมงเช้า ทำให้นายสมัครต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นผลให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งด้วยตามมาตรา 180 วรรค 1 (1) แต่ในระหว่างนี้คณะรัฐมนตรีทั้งหมดจะรักษาการในตำแหน่งไปก่อน จนกว่าจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามมาตรา 181นโยบายและผลงานเสนอนโยบายการผันแม่น้ำโขงผ่านอุโมงค์ โดยการสร้างใช้หัวเจาะกระสนกันน้ำซึมเข้า ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเจาะอุโมงค์แบบรถไฟใต้ดิน คาดว่าปริมาณแม่น้ำโขงจะไหลผ่านอุโมงค์นี้ และแจกจ่ายไปตามโครงข่ายลำน้ำอื่นๆ เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเพื่อการเกษตรและการอุปโภคในภาคอีสาน ภายใต้ความเชื่อที่ว่า "ถ้าอีสานมีน้ำ อีสานหายจน"รื้อฟื้นนำโครงการเมกะโปรเจ็กต์ที่รัฐบาลทักษิณทำไว้กลับมาใช้อีกครั้งความมั่นคงการประนีประนอมกับทหาร โดยสมัคร กล่าวว่า มีความตั้งใจที่จะออกพ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 อยู่แล้ว และจะไม่เข้าไปแทรกแซงจัดการเรื่องโผการโยกย้ายนายทหาร โดยจะปล่อยให้ทางทหารนั้นจัดการกันเอง ซึ่งทำให้ทางทหารแสดงท่าทีเป็นมิตรกับนายสมัครด้วยเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเน้นหนักในเรื่องการสร้างความเข้าใจ ความเป็นธรรม การพัฒนาการศึกษา พัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน และการสร้างความปลอดภัยในพื้นที่เศรษฐกิจยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ลดราคาสินค้าหมูเนื้อแดงขายจาก 120 บาท ต่อ กก. เหลือเพียง 98 บาท ต่อ กก.มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจมาตรการ 6 มาตรการ 6 เดือน ช่วยคนจน ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายประชานิยมโดยการทำเงินภาษีมาเพื่อช่วยเหลือประชาชน จนรัฐบาลที่นำโดย นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ขยายเวลาเพิ่มในเวลาต่อมาสิทธิมนุษยชนใช้นโยบายปราบปรามยาเสพติดขั้นเด็ดขาดเสนอให้มีเปิดการบ่อนกาสิโนอย่างถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย ซึ่งก็ได้รับทั้งความเห็นชอบและคัดค้านจากหลาย ๆ ฝ่ายเป็นอย่างมาก
รัฐสภาไทย
ประวัติรัฐสภาไทย รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการ สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อนในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วยสถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือหลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสองหลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภาหลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภาประธานรัฐสภาไทยจนถึงปัจจุบัน รัฐสภาไทย มีผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา รวม 28 คน ดังนี้1. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร28 มิถุนายน - 1 กันยายน 247515 ธันวาคม 2475 - 26 กุมภาพันธ์ 24762. เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร2 กันยายน 2475 - 10 ธันวาคม 24763. พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (พลเรือตรี กระแส ประวาหะนาวิน)ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร26 กุมภาพันธ์ 2476 - 22 กันยายน 24776 กรกฎาคม 2486 -24 มิถุนายน 2487ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา31 สิงหาคม 2489 - 9 พฤษภาคม 249015 พฤษภาคม 2490 - 8 พฤศจิกายน 24904. เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร22 กันยายน 2477 - 15 ธันวาคม 247717 ธันวาคม 2477 - 31 กรกฎาคม 24787 สิงหาคม 2478 - 31 กรกฎาคม 2479ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา26 พฤศจิกายน 2490 - 18 กุมภาพันธ์ 249120 กุมภาพันธ์ 2491 - 14 มิถุนายน 249215 มิถุยายน 2492 - 20 พศจิกายน 249322 พฤศจิกายน 2493 - 29 พฤศจิกายน 24945. พระยามานวราชเสวี (วิเชียร ณ สงขลา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร3 สิงหาคม 2479 - 10 ธันวาคม 248010 ธันวาคม 2480 -24 มิถุนายน 248128 มิถุยายน 2481 - 10 ธันวามคม 248112 ธันวาคม 2481 - 24 มิถุนายน 248228 มิถุนายน 2482 - 24 มิถุนายน 24831 กรกฎาคม 2483 - 24 มิถุนายน 24841 กรกฎาคม 2484 - 24 มิถุนายน 248530 มิถุนายน 2485 - 24 มิถุนายน 25862 กรกฎาคม 2487 - 24 มิถุนายน 248829 มิถุนายน 2488 - 15 ตุลาคม 248826 มกราคม 2489 - 9 พฤษภาคม 24896. พันตรีวิลาศ โอสถานนท์ ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา4 มิถุนายน 2489 - 24 สิงหาคม 24897. พลเอก พระประจนปัจนึก (พุก มหาดิลก) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร1 ธันวาคม 2494 - 17 มีนาคม 249522 มีนาคม 2495 - 23 มิถุนายน 249528 มิถุนายน 2495 -23 มิถุนายน 24962 กรกฎาคม 2496 - 23 มิถุนายน 249729 มิถุนายน 2497 - 23 มิถุนายน 24982 กรกกาคม 2498 - 23 มิถุนายน 249930 มิถุนายน 2499 - 25 กุมภาพันธ์ 250016 มีนาคม 2500 - 23 มิถุนายน 250028 มิถุนายน 2500 - 16 กันยายน 250027 ธันวาคม 2500 - 23 มิถุนายน 250125 มิถุนายน 2501 - 20 ตุลาคม 25018. พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ์ สุทธิสารรณกร)ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร20 กันยายน 2500 - 14 ธันวาคม 2500ประธานรัฐสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ6 กุมภาพันธ์ 2502 - 17 เมษายน 25119. นายทวี บุณยเกตุ ประธานรัฐสภา และประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ8 พฤษภาคม2511 -20 มิถุนายน 251110. พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา22 กรกฎาคม 2511 - 6 กรกฎาคม 25147 กรกฎาคม 2514 - 17 พฤศจิกายน 251411. พลตรีศิริ สิริโยธิน ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ18 ธันวามคม 2515 - 11 ธันวาคม 251612. พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ29 ธันวาคม 2516 -7 ตุลาคม 251713. นายประภาศน์ อวยชัย ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ17 ตุลาคม 2517 - 25 มกราคม 251814. นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร7 กุมภาพันธ์ 2518 -12 มกราคม 251915. นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร19 เมษายน 2519 - 6 ตุลาคม 25196 กุมภาพันธ์ 2544 - 5 มกราคม 254816. พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและประธานรัฐสภา22 ตุลาคม 2519 - 20 พฤศจิกายน 251917. พลอากาศเอก หะริน หุงสกุลประธานรัฐสภา และประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน28 พฤศจิกายน 2519 - 20 ตุลาคม 2520ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ25 พฤศจิกายน 2520 - 22 เมษายน 2522ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา9 พฤษภาคม 2522 - 19 มีนาคม 252618. นายจารุบุตร เรืองสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา26 เมษายน 2526 - 19 มีนาคม 252719. ศาสตราจารย์อุกฤษ มงคลนาวินประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา30 เมษายน 2527 - 30 เมษายน 25281 พฤษภาคม 2528 - 23 เมษายน 253024 เมษายน 2530 - 22 เมษายน 25323 เมษายน 2335 - 26 พฤษภาคม 2535ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ2 เมษายน 2534 - 21 มีนาคม 253520. ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา4 พฤษภาคม 2532 - 23 กุมภาพันธ์ 253421. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา28 มิถุนายน 2535 - 29 มิถุนายน 253522. ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร22 กันยายน 2535 - 19 พฤษภาคม 253823. นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร11 กรกฎาคม 2538 27 กันยายน 253824. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร24 พฤศจิกายน 2539 - 27 มิถุนายน 254325. นายพิชัย รัตตกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร30 มิถุนายน 2543 - 9 พฤศจิกายน 254326. นายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร8 มีนาคม 2548 - 24 กุมภาพันธ์ 254927. นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร23 มกราคม 2551 - เมษายน 255128. นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร15 พฤษภาคม 2551 - (ปัจจุบัน)
ประวัติการ กบฎ ปฏิวัติและการรัฐประหารในประเทศไทย
ประวัติการปฏิวัติรัฐประหารและกบฏในประเทศไทย 'กบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร' โดยสาระสำคัญแล้ว การทำรัฐประหาร คือการใช้กำลังอำนาจเข้าเปลี่ยนแปลงอำนาจของรัฐ โดยมาก หากรัฐประหารครั้งนั้นสำเร็จ จะเรียกว่า 'ปฏิวัติ' แต่หากไม่สำเร็จ จะเรียกว่า 'กบฏ'จาก พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2549 มีการก่อรัฐประหารหลายครั้ง ทั้งที่เป็น การปฏิวัติ และเป็น กบฏ มีดังนี้พ.ศ. เหตุการณ์ หัวหน้าก่อการ รัฐบาล2475 ปฏิวัติ 24 มิถุนายน พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ2476 รัฐประหาร พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยามโนปกรณ์นิติธาดา2476 กบฎบวรเดช พล.อ.พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา2478 กบฎนายสิบ ส.อ.สวัสดิ์ มหะหมัด พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา2481 กบฎพระยาสุรเดช พ.อ.พระยาสุรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา2490 รัฐประหาร พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์2491 กบฎแบ่งแยกดินแดน ส.ส.อีสานกลุ่มหนึ่ง นายควง อภัยวงศ์2491 รัฐประหาร คณะนายทหารบก นายควง อภัยวงศ์2491 กบฏเสนาธิการ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต จอมพล ป. พิบูลสงคราม2492 กบฎวังหลวง นายปรีดี พนมยงค์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม2494 กบฎแมนฮัตตัน น.อ.อานน บุณฑริกธาดา จอมพล ป. พิบูลสงคราม2494 รัฐประหาร จอมพล ป. พิบูลสงคราม จอมพล ป. พิบูลสงคราม2497 กบฎสันติภาพ นายกุหราบ สายประสิทธิ์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม2500 รัฐประหาร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม2501 รัฐประหาร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ถนอม กิตติขจร2514 รัฐประหาร จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพล ถนอม กิตติขจร2516 ปฏิวัติ 14 ตุลาคม ประชาชน จอมพล ถนอม กิตติขจร2519 รัฐประหาร พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช2520 กบฎ 26 มีนาคม พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร2520 รัฐประหาร พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร2524 กบฎ 1 เมษายน พล.อ.สัณห์ จิตรปฏิมา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์2528 การก่อความไม่สงบ 9 กันยายน พ.อ.มนูญ รูปขจร * พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์2534 รัฐประหาร พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ2549 รัฐประหาร 19 กันยายน2549 มีพล.อ.สนธิ บุญยตกรินทรเป็นหัวหน้า รัฐประหารรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร* คณะบุคคลกลุ่มนี้ อ้างว่า พลเอก เสริม ณ นคร อดีตผู้บัญชาทหารสูงสุดเป็นหัวหน้า แต่หัวหน้าก่อการจริงคือ พ.อ. มนูญ รูปขจรประวัติการปฏิวัติรัฐประหารและกบฎ ในประเทศไทย (2475 - 2549)การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475" คณะราษฎร " ซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนบางกลุ่ม จำนวน 99 นาย มีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศสืบต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้แก่ปวงชนชาวไทยอยู่ก่อนแล้ว จึงทรงยินยอมตามคำร้องขอของคณะราษฎร ที่ทำการปฏิวัติในครั้งนั้นรัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พร้อมด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนคณะหนึ่ง ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกจากตำแหน่งซึ่งเป็นการริดรอนอำนาจภายในคณะราษฏร ที่มีการแตกแยกกันเองในส่วนของการใช้อำนาจ ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ใช้อำนาจในทางที่ละเมิดต่อกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและประเทศชาติ เช่น ให้มีศาลคดีการเมือง ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการรัฐสภา สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่มีอิสระอย่างเต็มที่ การประกาศทรัพย์สินของนักการเมืองทุกคนทุกตำแหน่ง การออกกฎหมายผลประโยชน์ขัดกัน ฯลฯกบฏบวชเดช 11 ตุลาคม 2476พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารจากหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ก่อการเพื่อล้มล้างอำนาจของรัฐบาล โดยอ้างว่าคณะราษฎรปกครองประเทศไทยโดยกุมอำนาจไว้แต่เพียงแต่เพียงผู้เดียว และปล่อยให้บุคคลกระทำการหมิ่นองค์พระประมุขของชาติ รวมทั้งจะดำเนินการปกครองโดยลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามแนวทางของนายปรีดี พนมยงค์ คณะผู้ก่อการได้ยกกำลังเข้ายึดดอนเมืองเอาไว้ ฝ่ายรัฐบาลได้แต่งตั้ง พ.ท.หลวง พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม ออกไปปราบปรามจนประสบผลสำเร็จกบฏนายสิบ 3 สิงหาคม 2478ทหารชั้นประทวนในกองพันต่างๆ ซึ่งมีสิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยจะสังหารนายทหารในกองทัพบก และจับพระยาพหลพลพยุหเสนาฯ และหลวงพิบูลสงครามไว้เป็นประกัน รัฐบาลสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ หัวหน้าฝ่ายกบฏถูกประหารชีวิต โดยการตัดสินของศาลพิเศษในระยะต่อมากบฏพระยาทรงสุรเดช 29 มกราคม 2481ได้มีการจับกุมบุคคลผู้คิดล้มล้างรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังเดิม นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และได้ให้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต่อมารัฐบาลได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณา และได้ตัดสินประหารชีวิตหลายคน ผู้มีโทษถึงประหารชีวิตบางคน เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร นายพลโทพระยาเทพหัสดิน นายพันเอกหลวงชานาญยุทธศิลป์ ได้รับการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต เนื่องจากศาลเห็นว่าเป็นผู้ได้ทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติมาก่อนรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490คณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมี พลโทผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าสำคัญ ได้เข้ายึดอำนาจรัฐบาล ซึ่งมีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ แล้วมอบให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลต่อไป ขณะเดียวกัน ได้แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทยกบฏแบ่งแยกดินแดน 28 กุมภาพันธ์ 2491จะมีการจับกุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายคน เช่น นายทิม ภูมิพัฒน์ นายถวิล อุดล นายเตียง ศิริขันธ์ นายฟอง สิทธิธรรม โดยกล่าวหาว่าร่วมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย แต่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุมได้ เนื่องจากสมาชิกผู้แทนราษฏรมีเอกสิทธิทางการเมืองรัฐประหาร 6 เมษายน 2491คณะนายทหารซึ่งทำรัฐประหารเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 บังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วมอบให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้าดำรงตำแหน่งต่อไปกบฏเสนาธิการ 1 ตุลาคม 2491พลตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้าคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง วางแผนที่จะเข้ายึดอำนาจการปกครอง และปรับปรุงกองทัพจากความเสื่อมโทรม และได้ให้ทหารเข้าเล่นการเมืองต่อไป แต่รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ทราบแผนการ และจะกุมผู้คิดกบฏได้สำเร็จกบฏวังหลวง 26 มิถุนายน 2492นายปรีดี พนมยงค์ กับคณะนายทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง และตั้งเป็นกองบัญชาการ ประกาศถอดถอน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารผู้ใหญ่หลายนาย พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยกาปราบปราม มีการสู้รบกันในพระนครอย่างรุนแรง รัฐบาลสามารถปราบฝ่ายก่อการกบฏได้สำเร็จ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบหนออกนอกประเทศอีกครั้งหนึ่งกบฏแมนฮัตตัน 29 มิถุนายน 2494นาวาตรีมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือรบหลวงสุโขทัยใช้ปืนจี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปกักขังไว้ในเรือรบศรีอยุธยา นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา หัวหน้าผู้ก่อการได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้งพระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการสู้รบกันระหว่างทหารเรือ กับทหารอากาศ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถหลบหนีออกมาได้ และฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏจนเป็นผลสำเร็จรัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้ ต้องใช้วิธีการให้ตำแหน่งและผลประโยชน์ต่างๆ แก่บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนอยู่เสมอ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2492 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น มีวิธีการที่เป็นประชาธิปไตยมากเกินไป จึงได้ล้มเลิกรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเสีย พร้อมกับนำเอารัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม 2475 มาใช้อีกครั้งหนึ่งกบฏสันติภาพ 8 พฤศจิกายน 2497นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) และคณะถูกจับในข้อหากบฏ โดยรัฐบาลซึ่งขณะนั้นมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เห็นว่าการรวมตัวกันเรี่ยไรเงิน และข้าวของไปแจกจ่ายแก่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขณะนั้นกำลังประสบกับความเดือดร้อน เนื่องจากความแห้งแล้งอย่างหนัก เป็นการดำเนินการที่เป็นภัยต่อรัฐบาล นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ กับคณะถูกศาลตัดสินจำคุก 5 ปีรัฐประหาร 16 กันยายน 2500จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารนำกำลังเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังจากเกิดการเลือกตั้งสกปรก และรัฐบาลได้รับการคัดค้านจากประชาชนอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ต้องหลบหนีออกไปนอกประเทศรัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501เป็นการปฏิวัติเงียบอีกครั้งหนึ่ง โดยจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น ลากออกจากตำแหน่ง ในขณะเดียวกันจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากเกิดการขัดแย้งในพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และมีการเรียกร้องผลประโยชน์หรือตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง เป็นเครื่องตอบแทนกันมาก คณะปฏิวัติได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง และให้สภาผู้แทน และคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลงรัฐประหาร 17 พฤศจิกายน 2514จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำการปฏิวัติตัวเอง ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขึ้นทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และให้ร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในระยะเวลา 3 ปีปฏิวัติโดยประชาชน 14 ตุลาคม 2516การเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษา และประชาชนกลุ่มหนึ่งได้แผ่ขยายกลายเป็นพลังประชาชนจำนวนมาก จนเกิดการปะทะสู้รบกันระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เป็นผลให้จอมพลถนอม กิตติขจร นายักรัฐมนตรี จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร ต้องหลบหนีออกนอกประเทศปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 6 ตุลาคม 2519พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ และคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ เนื่องจากเกิดการจลาจล และรัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยทันที คณะปฏิวัติได้ประกาศให้มีการปฏิวัติการปกครอง และมอบให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจของรัฐบาล ซึ่งมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลได้รับความไม่พอใจจากประชาชน และสถานการณ์จะก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างข้าราชการมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเห็นว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งมีระยะเวลาถึง 12 ปีนั้นนานเกินไป สมควรให้มีการเลือกตั้งขึ้นโดยเร็วกบฎ 26 มีนาคม 2520พลเอกฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังทหารจากกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ 4 แห่ง คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกสวนรื่นฤดี กองบัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ ฝ่ายทหารของรัฐบาลพลเรือน ภายใต้การนำของ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอกกมล เดชะตุงคะ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลเอกเสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2520กบฎ 1 เมษายน 2524พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา ด้วยความสนับสนุนของคณะนายทหารหนุ่มโดยการนำของพันเอกมนูญ รูปขจร และพันเอกประจักษ์ สว่างจิตร ได้พยายามใช้กำลังทหารในบังคับบัญชาเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ ซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดความแตกแยกในกองทัพบก แต่การปฏิวัติล้มเหลว ฝ่ายกบฏยอมจำนนและถูกควบคุมตัว พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา สามารถหลบหนีออกไปนอกประเทศได้ ต่อมารัฐบาลได้ออกกฏหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการกบฏในครั้งนี้การก่อความไม่สงบ 9 กันยายน 2528พันเอกมนูญ รูปขจร นายทหารนอกประจำการ ได้นำกำลังทหาร และรถถังจาก ม.พัน 4 ซึ่งเคยอยู่ใต้บังคับบัญชา และกำลังทหารอากาศโยธินบางส่วน ภายใต้การนำของนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร เข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด และประกาศให้ พลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองของประเทศ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในขณะที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก อยู่ในระหว่างการไปราชการต่างประเทศ กำลังทหารฝ่ายรัฐบาลโดยการนำของพลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองผู้บัญชากรทหารสูงสุด ได้รวมตัวกันต่อต้านและควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ในเวลาต่อมา พันเอกมนูญ รูปขจร และนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร หลบหนีออกนอกประเทศ การก่อความไม่สงบในครั้งนี้มีอดีตนายทหารผู้ใหญ่หลายคน ตกเป็นผู้ต้องหาว่ามีส่วนร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ พลเอกเสริม ณ นคร พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลอากาศเอกพะเนียง กานตรัตน์ พลเอกยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และพลอากาศเอกอรุณ พร้อมเทพ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติซึ่งประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ เจ้าหน้าที่-ตำรวจ และพลเรือน ภายใต้การนำของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณ-จันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมร-วิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และพลเอกอสิระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีรัฐประหาร 19 กันยายน 2549มีพล.อ.สนธิ บุญยตกรินทรเป็นหัวหน้าลำดับเหตุการณ์ ความเคลื่อนไหว การปฎิวัติยึดอำนาจ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี------------------------------------------------------------------------------------------18.30 น. มีข่าวลือสะพัด กำลังทหารเตรียมเคลื่อนกำลังพล โดยมีรายงานว่าหน่วยรบพิเศษจากลพบุรีราว 1กองพันเคลื่อนกำลังด่วนเข้ากรุงแล้ว19.00 น. ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ยืนยัน ไม่มีการเคลื่อนไหวกำลังพล19.30 น. แม่ทัพภาค 3 ยืนยัน ไม่มีการเคลื่อนกำลัง ยังฝึกปกติ20.00 น. นายทหารคนสนิทประธานองคมนตรี ยืนยัน มีการเข้าเฝ้า เมื่อช่วงเย็น เรื่องทำบุญ หม่อมหลวงบัว21.00 น. ทหารรบพิเศษ สองคันรถบัสเคลื่อนพลเข้ากองบัญชาการกองทัพบก สั่งปิดไฟสลก21.20 น. มีทหารเฝ้าประตูวังสุโขทัย มากกว่า 2021.20 น.นายกฯสั่งช่อง 11 เตรียมการถ่ายทอดสดทางโทรศัพท์ จากนิวยอร์ค21.35 น. เลขาธิการนายกฯเข้าทำเนียบ21.40 น. รถถ่ายทอดททบ.5 เคลื่อนเข้าไปในกองบัญชาการกองทัพบก22.40 น. นายกฯสั่งช่อง 9 เตรียมถ่ายทอดสดจากนิวยอร์ค21.45 น. เลขาฯนายก หอบเอกสารปึกใหญ่ นั่งรถ รองนายกฯชิดชัยออกจากทำเนียบรัฐบาล22.00 น. กองบัญชาการตำรวจนครบาลสั่งปิดประตู พร้อมวางกำลังเจ้าหน้าที่อาวุธครบมือประจำการประมาณ22.10 น. ทหารเตรียมเคลื่อนกำลังออกจากม.พัน 422.13 น. ยานหุ้มเกราะ 20 คันเคลื่อนจากเกียกกายสู่ลานพระรูป ขณะที่รถถัง 3-4 คันเคลื่อนไปทำเนียบ22.14 น. ทหารเคลื่อนพลปิดล้อมทำเนียบ รัฐบาลแล้ว22.14 น. รถถัง 3 คันประจำการแยกเกียกกาย บ้านสี่เสาเทเวศน์ รถถังสองคันพร้อมรถบรรทุกกำลังพล 5คันเคลื่อนออกจากกองพันทหารปืนใหญ่22.20 น. วิทยุและโทรทัศน์ทหารเปิดเพลงมาร์ชกระหึ่ม ทหารยึดอสมท.22.24 น. ทหารเคลื่อนกำลังพลปิดบ้านนายกฯ ขณะที่นายกฯประกาศใช้พรก.ฉุกเฉินต้านทันควัน พร้อมสั่งย้ายผบ.ทบ.เข้ารายงานตัวกับชิดชัย ตั้งผบ.สส.เป็นผู้มีอำนาจสั่งการตามพรก.22.26 น. ทหารสั่งตัดไฟสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ขณะนายกฯกำลังประกาศใช้พรก.ฉุกเฉิน22.40 น. มีการตัดสัญญาณ ฟรีทีวีทุกช่อง22.41 น. Cnn รายงานสถานีวิทยุและโทรทัศน์ไทย ถูกปิดหมดแล้ว และมีรายงานการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉิน22.44 น. ทหารสั่งกักบริเวณ ผู้สื่อข่าวทำเนียบรัฐบาล22.55 น. ทหารปล่อยให้สื่อมวลชนกลับบ้านแล้ว23.00 น. ทหารควบคุมตัวพลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแล้ว23.05 น. มีประกาศจากคณะปฏิรูปการเมืองซึ่งประกอบด้วยสี่เหล่าทัพขอความร่วมมือจาก ประชาชนหลังควบคุมสถานการณ์ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลไว้ได้โดยไม่มีการต่อต้าน23.10 น.เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารสั่งสถานีวิทยุ ในเครือกองทัพ( ๑๐๑)เตรียมรับสัญญาณถ่ายทอดสดจากสถานีวิทยุ ๙๙.๕23.15 น. ทหารสั่งปลดอาวุธเจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาความปลอดภัยทำเนียบรัฐบาลและกักบริเวณไว้หน้าตึกไทยคู่ฟ้า23.27 น. พลตรี ประพาส สกุนตนารถ ที่ปรึกษาททบ.๕ ออกแถลงการณ์ประกาศคณะปฏิรูปอย่างเป็นทางการ23.30 น. มีข้อความแพร่ไปทาง มือถืออ้างพลเอกเปรมปฏิวัติแต่ในหลวงไม่เอาด้วย23.31 น. ประธานาธิบดีสหรัฐประกาศเป็นศัตรูกับรัฐบาลที่ทำการยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจาก การเลือกตั้ง23.40 น. มีการสั่งปลดอาวุธ ตำรวจหน่วยอรินทราชและคอมมานโดทั้งหมด23.50 น. มีประกาศจากคณะปฏิรูปการเมืองครั้งที่ ๒แจงก่อเหตุเพราะมีการบริหารราชการแผ่นดินส่อไปในทางทุจริตอย่างกว้างขวาง องค์กรอิสระถูกครอบงำไม่เป็นไปตามเจตนารมย์รัฐธรรมนูญ การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองมีอุปสรรคหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์อยู่หลายครั้งคณะปฏิรูปไม่ประสงค์จะยึดอำนาจเพื่อบริหารเอง แต่จะคืนอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขให้ปวงชนชาวไทยโดยเร็วที่สุด23.55 น. มีการตัดสัญญาณ โทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก ( ยูบีซี ) ช่อง ๕๓ ของสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น23.59 น. ผู้บัญชาทหารทุกเหล่าทัพเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระตำหนักจิ ครลดารโหฐานพระราชวังดุสิต00.24 น. มีรายงานการปะทะกันที่บริเวณกองพันทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์บางเขน00.28 น. พลตรี ประพาส สกุนตนารถ ที่ปรึกษาททบ.๕ อ่านแถลงการประกาศกฎอัยการศึกบังคบใช้ทั่วประเทศตั้งแต่ ๒๑.๐๕ น.ของวันที่ ๑๙ กันยายน ๔๙ โดยมีพลเอก สนธิบุญรัตนกลิน เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปฯ00.30 น. มีประกาศคณะปฎิรูป การปกครองฯฉบับที่ ๒ สั่งห้ามเคลื่อนย้ายกำลังทหารโดยไม่ได้รับคำสั่งจากคณะปฏิรูปชื่อ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยรายนามนายกรัฐมนตรีไทย1. พระยามโน ปกรณ์นิติธาดา2. พัน เอก พระยาพหลพลพยุหเสนา3. จอม พล แปลก พิบูลสงคราม4. พัน ตรี ควง อภัยวงศ์5. นาย ทวี บุณยเกตุ6. หม่อม ราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช7. นาย ปรีดี พนมยงค์8. พล เรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์9. นาย พจน์ สารสิน10. จอม พล ถนอม กิตติขจร11. จอม พล สฤษดิ์ ธนะรัชต์12. นาย สัญญา ธรรมศักดิ์13. พล ตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช14. นาย ธานินทร์ กรัยวิเชียร15. พล เอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์16. พล เอก เปรม ติณสูลานนท์17. พล เอก ชาติชาย ชุณหะวัณ18. นาย อานันท์ ปันยารชุน19. พล เอก สุจินดา คราประยูร20. นาย ชวน หลีกภัย21. นาย บรรหาร ศิลปอาชา22. พล เอก ชวลิต ยงใจยุทธ23. พัน ตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร24. พล เอก สุรยุทธ์ จุลานนท์25. นายสมัคร สุนทรเวช26. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์27. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475
วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทุกวันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปีการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 คือ การปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือน ประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไปหลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นหมุดทองเหลือง ฝังอยู่กับพื้นถนน บนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนามเสือป่า (ถ้าหันหน้าไปทางเดียวกับหัวม้า จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ) มีข้อความว่า "ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ" เป็นหลักฐานถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมื่อ 72 ปีก่อน ข้อความเหล่านี้นับวันแต่จะเลือนหายไปตามกาลเวลา คณะราษฎรที่ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นั้นประกอบด้วยคนสองกลุ่ม คือกลุ่มนักเรียนไทยในต่างประเทศกลุ่มนายทหารในประเทศไทยบุคคลทั้งสองกลุ่มพื้นฐานการศึกษาคล้ายกัน คือ ศึกษาวิชาพื้นฐานหรือวิชาชีพจากประเทศทางตะวันตก ใกล้ชิดกับการปกครองของประเทศที่ตนไปศึกษา คือ ได้สัมผัสกับบรรยากาศการปกครองในระบอบประธิปไตย เห็นความเจริญก้าวหน้าจากการที่ประชาชนในยุโรปตะวันตกมีส่วนร่วมในการปกครอง ประกอบกับบุคคลทั้งสองกลุ่มเป็นบุคคลที่มีสติปัญญาสูง ส่วนใหญ่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง จึงกำหนดในความคิดว่าตนควรจะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศคณะผู้ก่อการยึดอำนาจการปกครอง ได้รวมกลุ่มกันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ พ.ศ. 2469 ได้มีข้อขัดแย้งกับผู้ดูแลนักเรียนไทยในฝรั่งเศสซึ่งเป็นพระราชวงศ์องค์หนึ่ง ซึ่งกล่าวหาว่านักเรียนไทยเป็นพวกหัวรุนแรง ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัย ควรเรียกบางคนกลับประเทศไทยำให้นักเรียนในต่างประเทศมีพื้นฐานการไม่พอใจสถานการณ์บ้านเมืองเป็นส่วนตัว คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เป็นนักเรียนไทยในต่างประเทศเมื่อกลับมาถึงประเทศไทย ก็ได้เตรียมการวางแผนยึดอำนาจโดยชักชวนให้กลุ่มนายทหารเข้าร่วมด้วย การยึดอำนาจการปกครองของประเทศไทยมีผู้กระทำมาครั้งหนึ่งแล้วใน ร.ศ.130 กระทำไม่สำเร็จ ดังนั้นคณะราษฎรจึงได้วางแผนอย่างดีป้องกันข้อบกพร่องที่อาจมีขึ้น และการชัดชวนทหารเข้าร่วมด้วยจึงทำให้เกิดความสำเร็จเพราะทหารมีอาวุธ ผู้บริหารประเทศยินยอมให้คณะราษฎรยึดอำนาจไม่โต้แย้ง ด้วยเกรงว่าพระบรมวงศานุวงศ์จนถึงประชาชนจะเป็นอันตรายเพราะอาวุธชนวนที่ทำให้คณะราษฎรลงมือวางแผนยึดอำนาจมีหลายสาเหตุ ได้แก่สาเหตุแรก สภาพบ้านเมืองในช่วงเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาอภิรัฐมนตรีสภาซึ่งสมาชิกทั้งหมดเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ด้วยเหตุผลที่จำให้แก้สถานการณ์ที่กล่าวว่า พระมหากษัตริย์กับพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่แตกแยกกัน อภิรัฐมนตรีสภาช่วยแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้หลายประการแต่ความคิดของผู้ใหญ่และของผู้เยาว์กว่าย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นการยับยั้งข้อเสนอบางเรื่องโดยเฉพาะพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเย้าอยู่หัวที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ประชาชนชาวไทยในวาระราชวงศ์จักรีทรงปกครองแผ่นดินมาครบ 150 ปี จึงทำให้คณะราษฎรและกลุ่มหนังสือพิมพ์มองว่า พวกเจ้าหลงกับอำนาจสาเหตุที่สอง ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศรายได้ไม่พอกับรายจ่าย สืบเนื่องจากเศรษฐกิจของโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และการใช้จ่ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว การแก้ไขคือ การดุลข้าราชการ ยุบเลิกหน่วยงานต่าง ๆ ตัดทอนค่าใช้จ่ายของกระทรวง กรม กอง และเก็บภาษีบางประการเพิ่มการแก้ไขดังนี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่ผู้เสียประโยชน์ ในวงการทหารก็เช่นกัน การขัดแย้งเรื่องงบประมาณกระทรวงกลาโหม จนถึงเสนาบดีกระทรวงกลาโหมขอลาออกจากราชการ จึงเป็นเหตุให้นายทหารคิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในขณะที่มีการดุลข้าราชการออก ก็มีกลุ่มบุคคลมองว่าดุลออกเฉพาะสามัญชน ส่วนข้าราชการที่เป็นเจ้าไม่ต้องถูกดุล แล้วยังบรรจุเข้าทำงานแทนสามัญชนอีก ความแตกต่างทางฐานะด้านสังคมก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งสาเหตุที่สำคัญที่สุดก็คือ ความล่าช้าในการบริหารราชการแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์จะฝึกข้าราชการในสภากรรมการองคมนตรีให้เรียนรู้วิธีการประชุม ปรึกษาแบบรัฐสภาเพื่อเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ก็ทำได้อย่างไม่มีผลเท่าไรนักพระราชบัญญติเทศบาลซึ่งจะเป็นรากฐานของการปกครองตนเองก็ยังไม่ได้ประกาศออกใช้ และข้อสุดท้ายคือ ร่างรัฐธรรมนูญที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ผู้ชำนาญการร่างไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ยังไม่ได้พระราชทานแก่ประชาชนการเปลี่ยนแปลงการปกครองกระทำได้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน การปกครองของประเทศจึงเปลี่ยนไป คือมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ76 ปี ประชาธิปไตยไทยการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในยุครัตนโกสินทร์ ยั่งยืนมา 150 ปี จนถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) จนบัดนี้กำลังล่วงลุสู่ปีที่ 76 ในวันที่ 24 มิถุนายน 2551 ที่จะถึงนี้เมื่อวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎรผู้ก่อการปฏิวัติได้ออกประกาศเรียกว่า ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 อ้างเหตุผลความจำเป็นในการต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองความว่า"เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชย์สมบัติสืบต่อพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้จะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การณ์หาเป็นไปตามหวังที่คิดไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจอยู่เหนือกฎหมายตามเดิมทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณงามความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้างซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน ผลาญเงินทองของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดังที่จะเห็นได้ในการตกต่ำในการเศรษฐกิจและความฝืดเคืองทำมาหากิน ซึ่งราษฎรได้รู้กันอยู่ทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย มิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้ การที่แก้ไขไม่ได้ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิได้ปกครองประเทศเพื่อราษฎรตามที่รัฐบาลอื่นๆได้กระทำกัน ..... ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นได้โค่นราชบัลลังก์เสียแล้ว""ฯลฯ.......เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น และได้ยึดอำนาจของรัฐบาลของกษัตริย์ไว้แล้ว คณะราษฎรเห็นว่า การที่จะแก้ความชั่วร้ายก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลายๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่มีประสงค์ทำการชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึงขอเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองของแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความเห็นนี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงม าก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา ตามวิธีนี้ราษฎรพึงหวังเถิดว่า ราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุก ๆ คนจะมีงานทำ เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้านมาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น การปกครองซึ่งคณะราษฎรจะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการอาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว"คณะผู้ก่อการปฏิวัติล้มล้างระบอบกษัตริย์ ได้ประกาศนโยบาย โดยเรียกว่า "หลักใหญ่ๆที่คณะราษฎรวางไว้" มีอยู่ว่าจะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคงจะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มากต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยากจะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎร เช่นที่เป็นอยู่)จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลักสี่ประการดังกล่าวข้างต้นจะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎรคณะราษฎรผู้ก่อการปฏิวัติ ได้ให้ความหวังแก่ประชาชนในแถงการณ์สุดท้ายว่า "ราษฎรทั้งหลาย จงพร้อมกันช่วยคณะราษฎรให้ทำกิจอันคงจะอยู่ชั่วดินฟ้านี้ให้สำเร็จ คณะราษฎรขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือกฎหมาย พึงตั้งอยู่ในความสงบและตั้งหน้าหากิน อย่าทำการใดๆอันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎรนี้ เท่ากับราษฎรช่วยประเทศและช่วยตัวราษฎร บุตร หลาน เหลนของตนเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบริบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะต้องมีงานทำไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพจากการเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาส พวกเจ้าหมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า "ศรีอาริย์" นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า"ด้วยพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ รวมทั้งความเสียหายแก่บ้านเมือง และเนื่องจากพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้ว จึงไม่ทรงขัดความปรารถนาของคณะราษฎรที่ได้กราบบังคมทูลเชิญเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองและได้พระราชทานรัฐธรรมนูญ ฉบับถาวรดังกล่าว เหตุการณ์บ้านเมือง มีความสับสนวุ่นวาย อาญาสิทธิในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กลายเป็นการผูกขาดอำนาจเผด็จการในระบอบประชาธิปไตยที่คณะราษฎรกำหนดให้ จนมีคำกล่าวขานเป็นคำคล้องจองว่า "พระยาพหลต้นคิด หลวงประดิษฐ์ต้นเรื่อง โค่นอำนาจพระราชา ปล่อยหมูปล่อยหมามานั่งเมือง"วันที่ 2 มีนาคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสละราชสมบัติ โดยพระราชหัตถเลขา ความว่า"ข้าพเจ้าเห็นว่า คณะรัฐบาลและพวกพ้องใช้วิธีการปกครองไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคลและหลักความยุติธรรม ตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใด คณะใดใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจ อันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาชน"76 ปีที่ผ่านมาจนบัดนี้ สถานการณ์บ้านเมืองดังที่คณะราษฎรได้หยิบยกขึ้นมาประกอบเพื่อเป็นเหตุผลในการปฏิวัติยังคงมีอยู่อย่างครบถ้วนทุกประการ ซ้ำร้ายหลายประการยิ่งเลวร้ายขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่า"คนสอพลอไร้คุณงามความรู้ขึ้นดำรงตำแหน่งหน้าที่สำคัญๆ การไม่ฟังเสียงราษฎร การปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในการรับสินบนทุจริตคอรัปชั่น การหากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน การปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม การทำตนอยู่เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้" หลักใหญ่ 5 ประการที่เสมือนนโยบายดังได้ประกาศไว้ และให้ความหวังไว้ว่าจะนำความสุขความเจริญอย่างประเสริฐเยี่ยง "ศรีอาริย์" มาบังเกิดแก่ราษฎรถ้วนหน้า ดูเหมือนกำลังจะนำพาประเทศชาติไปสู่ "กลียุค" เข้าทุกขณะประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 และฉบับต่อมาหลายฉบับ คือการ "ล้มเจ้า" และบังอาจจาบจ้วงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผยและร้ายแรงที่สุดต่อสาธารณะวันที่ 9 มิถุนายน 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงขึ้นครองราชย์ ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วยพระราชปณิธานว่า "เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"62 ปี ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาล และทศพิธราชธรรมที่มั่นคง เป็นสิ่งที่นำพาชาติไทยให้ร่มเย็นเป็นสุขและอยู่รอดตลอดมา
เหตุการณ์กบฎ ร.ศ 130 (กบฎเหล็ง ศรีจันทร์)
กบฏ ร.ศ. 130 เกิดขึ้นก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 นานถึง 24 ปี โดยเกิดขึ้นใน สมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2455 (ร.ศ. 130) เมื่อนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง วางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทาน รัฐธรรมนูญ ให้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการแตกเสียก่อน จึงมีการจับกุมผู้คิดก่อการหลายคนไว้ได้ มีการพิจารณาตัดสินลงโทษให้จำคุกและประหารชีวิต แต่ท้ายที่สุดได้รับการพระราชทานอภัยโทษ ด้วยทรงเห็นว่าผู้ก่อการมิได้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์
คณะผู้ก่อการได้รวมตัวกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2455 ประกอบด้วยผู้ร่วมคณะเริ่มแรกจำนวน 7 คน คือ
ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้าร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ จาก กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ร.ต.จรูญ ษตะเมษ จากกองปืนกล รักษาพระองค์ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์ร.ต.ปลั่ง บูรณโชติ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์ร.ต.หม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร จาก โรงเรียนนายสิบร.ต.เขียน อุทัยกุล จาก โรงเรียนนายสิบคณะผู้ก่อการวางแผนจะก่อการในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และวันขึ้นปีใหม่ ผู้ที่จับฉลากว่าต้องเป็นคนลงมือลอบปลงพระชนม์ คือ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ เกิดเกรงกลัวความผิด จึงนำความไปแจ้งหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และพากันนำความไปแจ้ง สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประทับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คณะทั้งหมดจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกกองมหันตโทษ ที่สร้างขึ้นใหม่ และได้รับพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ครบรอบปีที่ 15 ของการครองราชย์ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดจากเมื่อตอนปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 พ.ศ. 2452 ได้เกิดการทะเลาะวิวาทกันระหว่างทหารราบที่ 1 กับพวกมหาดเล็กบางคนของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ในการที่ได้มีเหตุวิวาทนั้น ได้ความว่า เพราะเรื่องหญิงขายหมากคนหนึ่ง การทะเลาะวิวาทกันอย่างฉกรรจ์นี้ เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทรงทราบ ก็ได้รับสั่งให้ผู้บังคับบัญชาการทหารราบที่ 2 ทำการสอบสวน และภายหลังการสอบสวนได้ความว่า หัวหน้าคือ ร.อ. โสม ซึ่งให้การรับสารภาพ ดังนั้น ร.อ.โสม กับพวกอีก 5 คน จึงถูกคุมขัง เพื่อรอคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาต่อไปสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชได้นำความขึ้นกราบบังคมทูล สมเด็จพระบรมชนกนาถ ขอให้ลงพระอาญาเฆี่ยนหลังทหารเหล่านั้นตามจารีตประเพณีนครบาล ในการกระทำอุกอาจถึงหน้าประตูวังของรัชทายาท แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นด้วย เสด็จในกรมราชบุรี นักกฏหมายได้ชี้แจงว่า ควรจะจัดการไปตามกฏหมาย เพราะได้ใช้ประมวลกฏหมายอาญาเยี่ยงอารยประเทศแล้ว จึงไม่ควรนำเอาจารีตนครบาล ซึ่งได้มีพระบรมราชโองการประกาศยกเลิกไปแล้วกลับมาใช้อีก แต่คำคัดค้านทั้งหลายไม่เป็นผล สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชยังทรงยืนกรานจะให้โบยหลังให้ได้ มิฉะนั้นจะทรงลาออกจากตำแหน่งองค์รัชทายาททันที สมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงเห็นการณ์ไกลว่า ถ้าไม่ตามพระทัย เรื่องอาจจะลุกลามกันไปใหญ่โต จึงทรงอนุมัติไปตามคำขอจากพฤติกรรมดังกล่าวนี้ ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ทหารทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง นักเรียนนายร้อยทหารบก พากันไม่ยอมเข้าเรียน แต่ผู้บัญชาการโรงเรียนทหารบกขณะนั้น คือสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ได้ทรงอธิบายปลอบโยน ด้วยข้อความอันซาบซึ้งตรึงใจ นักเรียนนายร้อยเหล่านั้นจึงได้ยอมเข้าเรียนตามปกติ แล้วเหตุการณ์นั้นก็ผ่านไปต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2453 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6 พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งกองเสือป่าขึ้น และเอาพระทัยใส่ในกิจการนี้เป็นอย่างดี นายทหารรุ่นที่สำเร็จจากโรงเรียนนายร้อยรุ่นปลาย ร.ศ.128 เรียกรุ่นนั้นว่า "ร.ศ.129" ก็ได้เข้าประจำการตามกรมกองต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักร บางคนยังไม่ลืมเหตุการณ์เฆี่ยนหลังนายทหารตั้งแต่คราวนั้น และยังสะเทือนใจอยู่ และประกอบกับมีความรู้สึกว่า "กองเสือป่า" ที่พระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งนั้น ก็มิใช่ลูกเลือ เป็นกิจกรรมที่ตั้งซ้ำกับการทหาร และยังทำงานชิงดีชิงเด่นกับทหารแห่งชาติเสียด้วย ย่อมทำให้ความมั่นคงของชาติเสื่อมสลายลงเป็นอย่างมากเสือป่าในกองนั้น ส่วนมากก็คือราชการในพระราชสำนัก เป็นกองที่ทรงสนพระทัยอย่างใกล้ชิด จนคนภายนอกที่ไม่ได้เข้า หรือเข้าไม่ได้ ต่างพากันคิดผิดไป จนเกิดความริษยา ในขั้นแรกที่ว่าการเสือป่าในกรุงเทพฯ ก็โปรดปรานให้มีสโมสรเป็นอย่างดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จที่สโมสรเสือป่าเกือบทุกวัน เพื่อทอดพระเนตรการฝึก สำหรับสโมสรเสือป่านั้น เสื่อป่าทุกชั้น จนถึงพลเสือป่าถึงเข้าเป็นสมาชิกได้ ข้าราชการและคนอื่นๆ จึงนิยมสมัครเข้าเป็นเสือป่า แต่ผู้ที่เป็นทหารประจำการอยู่แล้ว เข้าไปในสโมสรเสือป่าไม่ได้ ก็เกิดมีความเสียใจว่า ทหารถูกกีดกันไม่ให้เข้าใกล้พระเจ้าอยู่หัว จึงอยากจะเป็นสมาชิกสโมสรเสือป่าบ้าง เมื่อความทราบถึงพระเนตรพระกรรณ และเพราะน้ำพระทัยอันเต็มเปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณา จึงโปรดให้ทหารเข้าเป็นสมาชิกสโมสรนั้นได้ โดยต้องสมัครเป็นเสือป่าด้วย เพราะการเป็นนายทหารสัญญาบัตร มิได้หมายความว่าเป็นนายเสือป่าสัญญาบัตรด้วย จึงเกิดเป็นภาพที่ออกจะแปลก เมื่อนายทหารสัญญาบัตร ถึงชั้นอาวุโสในกองทัพบก ทัพเรือ ในตอนเย็นกลับกลายเป็นพลเสือป่าไปฝึกอยู่ที่หน้าสโมสร พระราชวงศ์ถวายการสนับสนุนเรื่องกองเสือป่าเป็นอย่างดี และมักจะได้รับตำแหน่งเป็นผู้บังคับการพิเศษ กรมเสื่อป่ารักษาดินแดนมณฑล เช่นทูลกระหม่อมจักรพงษ์ ทรงเป็นนายกกองเอกพิเศษ ของกองรักษาดินแดนมณฑลพิษณุโลก ทูลกระหม่อมบริพัตร เป็นของมณฑลนครสวรรค์ เป็นต้น แต่ถึงกระนั้นในตอนต้นๆ ก็ไม่ทำให้ทหารเลิกรังเกียจเสือป่าได้แต่ความไม่พอใจของทหารหนุ่มหมู่หนึ่งนั้นยิ่งทวีขึ้น เพราะมองเห็นว่า กิจการของกองเสือป่านั้น ไม่เกิดประโยชน์อันใดแก่ประเทศชาติบ้านเมือง และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินโดยไม่จำเป็น เป็นเหตุให้การเศรษฐกิจการคลังของประเทศอยู่ในฐานะฝืดเคือง และเป็นการทรมานข้าราชการผู้เฒ่าชราอย่างน่าสงสาร ทั้งยังทำให้กิจการงานเมืองฝ่ายทหาร และพลเรือนต้องอลเวงสับสน ไม่เป็นอันประกอบกิจการงาน เป็นการเสียทรัพย์ เสียเวลา เสียงานของชาติ และบุคคลบางจำพวกที่อยู่ในราชสำนักขณะนั้น ไม่ทราบซึ่งในพระมหากรุณาธิคุณ ของเจ้านายของตนเพียงพอ ปฎิบัติประพฤติตนไปในทำนองผยองตน ต่อข้าราชการและพลเมืองของชาติ ที่ยังจงรักภักดี ต่อพระมหากษัตริย์ของเขาอย่างแนบแน่น จนเป็นเหตุให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ แม้กระทั่งหนังสือพิมพ์ก็ลงบทความตำหนิ จนผู้ที่มีใจเป็นธรรมต้องเข้าร่วมเป็นพรรคพวกกับทหารหนุ่มๆ เหล่านั้นด้วย แม้แต่กระทั้ง เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พระอนุชาของพระองค์ ก็ได้ทรงแสดงพระอาการไม่เป็นที่พอพระทัยมาก จนออกหน้าออกตาความไม่พอใจได้เพิ่มทวียิ่งขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปี พ.ศ.2454 หรือ ร.ศ. 130 พวกคิดก่อการโค่นล้มพระราชบัลลังก์ ได้เพิ่มพูนความไม่พอใจขึ้นอีก ด้วยเรื่องของความอิจฉาริษยาเสือป่า ซึ่งถือว่าเป็นหมู่ชนที่ได้รับการโปรดปรานยิ่งกว่าหมู่อื่น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการตระเตรียมการปฎิวัติขึ้น และแผนการณ์ปฎิวัตินั้นอยู่ในขั้นรุนแรงเป็นอย่างยิ่ง จนถึงกับจะลอบปลงพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เลยทีเดียว สมุหฐานที่สำคัญ ในการปฎิวัติครั้งนี้ ที่พอสรุปได้มีดังนี้ คือ1) เนื่องจากพวกจักรวรรดินิยม กดขี่ข่มเหงประเทศต่างๆ ในเอเซีย และได้แลเห็นประเทศจักรวรรดินิยมเหล่านั้น มีความเจริญในด้านต่างๆ จนสามารถปราบปรามประเทศต่างๆในเอเซีย และเรียนรู้การปกครองของประเทศจักรวรรดินิยมเขาทำกันอย่างไร จึงมีความปรารถนาจะให้ประเทศของตนเป็นไปอย่างยุโรปบ้าง2) พวกคณะปฎิวัติได้เห็นประเทศญี่ปุ่นมีความเจริญก้าวหน้า ภายหลังที่ได้เปลี่ยนการปกครองเป็นประชาธิปไตย จนสามรถรบชนะจีนและรัสเซีย จึงต้องการให้ประเทศสยามมีความก้าวหน้าอย่างนั้นบ้าง3) เมื่อเห็น ดร.ซุนยัดเซน โค่นบัลลังก์แมนจู เป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน คณะปฎิวัติ ร.ศ. 130 ต้องการให้ประเทศสยามเป็นเช่นนั้นบ้าง4) คณะปฎิวัติเล็งเห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อ่อนแอเหมือนพระเจ้าหลุยส์ที่14 ไม่สนพระทัยในกิจการบ้านเมือง จึงคิดจะปฎิวัติ เพื่อปรับปรุงประเทศอย่างตะวันตก5) ทหารถูกเหยียดหยาม6) ความเป็นไปในราชสำนักฟุ่มเฟือย ไร้สารัตถะ7) ความสิ้นเปลืองเงินแผ่นดินไปโดยไร้ประโยชน์ และมีเหตุอันไม่บังควร8) มีการแบ่งชั้นวรรณะ ระหว่างผู้ที่เรียกตนเองว่าเจ้า กับไพร่9) ขุนนางผู้ใหญ่ มีความเสื่อมทรามเหลวแหลก10) ข้าราชการทำงานเอาตัวรอดไปวันๆ โดยไม่คิดถึงประเทศชาติและบ้านเมือง11) ราษฎรไม่ได้รับการบำรุงส่งเสริมอย่างจริงจัง12) ชาวไร่ ชาวนา ถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการส่งเสริมช่วยเหลือให้ดีขึ้นตามสมควร13) ทุพภิกขภัย ความอดอยากหิวโหย แผ่ซ่านไปในหมู่กสิกร เมื่อดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวยในการเพาะปลูก14) ทั้งที่เกิดความอดอยากยากจนอยู่ทั่วประเทศ แต่ทางราชการกลับเก็บภาษีเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ราษฎรประสบความเดือดร้อนอย่างสาหัส15) ผู้รักษากฎหมายใช้อำนาจเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ ประชาชนพลเมือง16) กดการศึกษาของพลเมือง เพื่อมิให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เทียบเท่าชนชั้นผู้ปกครอง17) ความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองขาดการทำนุบำรุง
บุคคลคณะนี้ เป็นนายทหารที่รักความก้าวหน้า และปรารถนาที่จะให้ประเทศชาติมีการปกครองเช่นเดียวกับจีนและญี่ปุ่น และต้องการให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย บุคคลที่เป็นหัวหน้าคิดการใหญ่ครั้งนี้คือ ร.อ. ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์ ) นายแพทย์ประจำโรงเรียนนายร้อยทหารบก และยังเป็นนายแพทย์ประจำพระองค์ เสด็จในกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เป็นหัวหน้าดำเนินการและริเริ่ม พร้อมด้วย ร.ต. จรูญ ษตะเมษ ซึ่งเป็นนายทหารสำเร็จจากโรงเรียนนายร้อย ประจำการอยู่ที่กรมทหารราบที่ 12 มณฑลนครไชยศรีนายทหารทั้งสองนี่ มีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะให้ประเทศมีการปกครองตนเอง เปลี่ยนแปลงระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย จะนำเอาแบบอย่างนานาอารยะประเทศมาใช้ จะปรับปรุงการศึกษา และการทหารเสียใหม่ จะให้สิทธิและเสรีภาพ เสมอภาค ภารดรภาพ ให้มีรัฐธรรมนูญ ให้มีรัฐสภา ให้ประชาชนออกเสียงเลือกตั้ง ตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตย ที่กระทำกันอยู่ในยุโรปขณะนั้นเมื่อเกิดปณิธานและความมุ่งหมาย ในการโค่นล้มพระราชบัลลังก์ ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่นนี้ ผู้ริเริ่มก่อการปฎิวัติก็วางแผนชักจูงทหารทั่วประเทศ และเกลี้ยงกล่อมทหารเกณฑ์ที่เข้ารับราชการทุกรุ่น ให้มีความเข้าใจถึงความเป็นอยู่ของประเทศชาติ และความเสื่อมทรามในขณะนั้น และความเป็นไปของลัทธิประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ ว่ามีประโยชน์อย่างไร รวมถึงอธิบายให้เขาเหล่านั้นเข้าใจถึงเรื่องสิทธิและเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน เพื่อให้บุคคลเหล่านั้น ได้แพร่ข่าวกระจายไปทั่วประเทศ เพื่อให้ราษฎรตระหนักว่า ลัทธิสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นเป็นลัทธิที่ไม่เหมาะสมแก่การปกครองประเทศ จนจะไม่มีเหลืออยู่แล้วในโลกนี้ผู้ริเริ่มก่อการปฎิวัติ ได้ใช้ดุลยพินิจอย่างหนักหน่วง ที่จะพยายามเลือกเฟ้นหาบุคคลที่มีบุคลิกลักษณะที่จะเป็นผู้นำ และบุคคลที่จะเป็นผู้นำนั้น ควรจะเป็นบุคคลที่เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติบ้านเมือง มีความคิดเห็นเป็นประชาธิปไตย และเด็ดขาด มีอุดมการณ์แน่วแน่ มีมโนธรรมสูง มีจิตใจเป็นมนุษยธรรม เห็นแก่ประโยชน์สุขของส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว และควรได้รับความเคารพจากทหารทุกชั้น ต่างก็ลงความเห็นร่วมกันว่า ร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) เป็นทั้งนายแพทย์และนักรบ จากนักเรียนนายร้อยสำรอง ซึ่งเคยผ่านงานมาแล้วเป็นอย่างดี ทั้งกำลังจะเป็นแพทย์ประจำพระองค์ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ ฯ และหม่อมแคทรีน พระชายา ตลอดจนครอบครัวในพระองค์ท่านด้วยในการที่มีผู้เสนอ ขุนทวยหาญพิทักษ์ เป็นหัวหน้าคณะปฎิวัตินั้น นับว่าเป็นความคิดเห็นที่ถูกต้อง เพราะร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ ก็มีความเห็นเป็นทำนองเดียวกันว่า ถึงเวลาแล้วที่ควรจะเปลี่ยนการปกครองเสียใหม่ เพื่อก้าวให้ทันเทียบกับนานาประเทศ และเพื่อนบ้าน และอีกทั้งในพระราชสำนักนั้น ก็เต็มไปด้วยความฟุ้งเฟ้ออันไร้สาระ ประเทศอยู่ในภาวะฝืดเคือง ถ้าปล่อยให้เหตุการณ์เป็นไปในทำนองนั้นต่อไปอีก ไม่ทราบว่า บ้านเมืองจะเป็นอย่างไรในอนาคตนอกจากจะมีทรรศนะไปในทางเดียวกันแล้ว ร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ ยังเป็นบุคคลเด็ดขาด เข้มแข็ง สุภาพอ่อนโยน และเป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ โอบอ้อมอารี อันเป็นนิสัยของแพทย์ทั่วไป และเพื่อเป็นการจูงใจให้นายทหารและนักเรียนนายร้อยทหารบกเข้ามาร่วมกำลังได้โดยง่าย จึงเห็นเป็นการสมควรยกย่องให้ ร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ เป็นหัวหน้าคณะปฎิวัติ และท่านก็ยอมรับเป็นหัวหน้าโดยทันทีทันใด เพราะท่านก็มีความปรารถนา ในทำนองนั้นอยู่แล้ววันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ.2454 (ร.ศ. 130) ที่ศาลาพักร้อนภายในบริเวณบ้าน ร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ ถนนสาธร ได้มีการประชุมปรึกษาหารือในการปฎิวัติกันเป็นครั้งแรก และเรียกคณะของตนว่า "คณะปฎิวัติ ร.ศ. 130" ในการริเริ่มครั้งนี้มีเพียง 7 คนเท่านั้น คือร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ร้อยตรี เหรียญ ศรีจันทร์ร้อยตรี จรูญ ษตะเมษร้อยตรี เนตร พูนวิวัฒน์ร้อนตรี ปลั่ง บูรณโชติร้อยตรี ม.ร.ว. แช่ รัชนีกรร้อยตรี เขียน อุทัยกุลการประชุมวางแผนโค่นล้มราชบัลลังก์ ครั้งแรกนี้พอสรุปได้ผลว่า จะต้องเปลี่ยนการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ก็มีสมาชิกบางคนที่หัวรุนแรงเห็นว่า ควรให้เป็นมหาชนรัฐอย่างจีนและสหรัฐฯ บางคนก็ไม่ต้องการให้รุนแรงขนาดนั้น เอาแต่เพียงว่า ขอให้องค์พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญแบบอังกฤษหรือญี่ปุ่นก็เพียงพอ และได้มีการถกถึงปัญหานี้อย่างกว้างขวาง จนหาข้อสรุปมิได้ จนในที่สุดก็ได้ตกลงกันว่า ขอให้ทุกคนช่วยกันแสวงหาพรรคพวกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ไปพลางก่อน และในตอนท้ายได้กล่าวย้ำอย่างหนักแน่นว่า ให้รักษาความลับเรื่องนี้ไว้อย่างสุดชีวิตการประชุมครั้งที่สอง ได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง ณ ที่เดิม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2454 คราวนี้มีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 20 คน โดยมีสมาชิกใหม่ 13 คน คือพันตรี นายแพทย์ หลวงวิฆเนศร์ประสิทธิ์วิทย์ (อัทย์ หะสิตะเวช)ร้อยโท จรูญ ณ บางช้างร้อยโท เจือ ควกุล นายทหารเสนาธิการทหารบกที่1ร้อยโท ทองดำ คล้ายโอภาส นายทหารประจำกรมเสนาธิการทหารบกร้อยตรี บ๋วย บุณยรัตพันธ์ร้อยตรี ทวน เธียรพิทักษ์ร้อยตรี สอน วงค์โตร้อยตรี สนิทนายอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุธยาร้อยตรี โกย วรรณกุลร้อยตรี ปาน สุนทรจันทร์ (พระวิเศษโยธาบาล)ร้อยตรี ช้อยพ.ต. หลวงชัยพิทักษ์ นายทหารช่างที่1การประชุมครั้งที่สองนี้ มีร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ หัวหน้าคณะปฎิวัติ เป็นประธาน โดยพันตรี นายแพทย์ หลวงวิฆเนศร์ประสิทธิ์วิทย์ ได้เสนอญัตติเป็นเรื่องพิเศษในที่ประชุมว่า การคิดปฎิวัติครั้งนี้ เป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องความเป็นความตาย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงขอให้สมาชิกได้แสดงความสัตย์ต่อกัน ว่าจะไม่คิดทรยศหักหลังกันเอง ขอให้สมาชิกทุกคนให้สัตยาบันว่า จะซื่อสัตย์ต่อกันทุกเมื่อ ทุกโอกาส ทุกนาที โดยยอมพลีชีวิตเพื่อความเจริญก้าวหน้าของชาติบ้านเมือง มิหวังผลอันมิชอบเพื่อการส่วนตัวด้วยประการทั้งปวงครั้นแล้วพิธีสาบานปฎิญาณตนว่า จะซื่อตรงต่อกันจนวันสุดท้ายก็เริ่มขึ้น โดยสมาชิกคณะปฎิวัติได้ให้สัตย์ปฎิญาณพร้อมกันว่า....." เราทั้งหลายเป็นผู้ก่อการด้วยกัน ต่างก็ได้คำนึงกันอยู่แล้วว่า ผลสำเร็จที่สุดนั้น ย่อมเป็นการยากมาก เพราะได้เห็นผลของการปฎิวัติมามากต่อมากนักแล้ว ซึ่งส่วนมากหากเป็นประเทศอื่นก็ดี เมื่อปรากฎว่ามีการปฎิวัติขึ้น คณะผู้ก่อการครั้งแรกนั้นมักจะถูกจับกุม หรือไม่ก็ได้รับการทรมาน และถูกประหารชีวิตเสียก่อนงานจะสำเร็จ โดยมากมักจะเป็นอยู่เช่นนี้ แต่จะอย่างไรก็ดี แม้ว่าพวกปฎิวัติยุคแรกจะเพลี่ยงพล้ำ หรือได้รับโทษอย่างแสนสาหัสก็ตาม แต่ก็ยังมีพวกคนรุ่นหลังคิดการสืบต่อเนื่องกันไป และผลก็มักจะสำเร็จ"การเสียสละครั้งนี้ เป็นการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อประเทศชาติและประชาชน เพื่อแก้ไขความเสื่อมโทรมของปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจ ผลของการประชุมพอสรุปได้ดังนี้1 จะต้องรีบลงมือทำการปฎิวัติโดยเร็วที่สุด2 ระบอบการปกครองยังไม่เป็นที่ตกลงให้เลื่อนไปพิจารณาในกาประชุมครั้งต่อไป3 ให้สมาชิกทุกคนมีหน้าที่เกลี้ยกล่อม และหาสมาชิกใหม่ตามแนวเดิม ทั้งในพระนครและต่างจังหวัด4 แบ่งหน้าที่กันไปตามความถนัด และความสามารถ เช่นหมอเหล็งทำหน้าที่ประสานงานกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่ หมออัทย์ รับหน้าที่ฝ่ายการต่างประเทศ ร้อยโทจรูญ กับนายอุทัย ทางด้านกฎหมาย ร้อยโทเจือ ร้อยโททองดำ ด้านเสนาธิการ และเตรียมแผน ร้อยตรี ม.ร.ว. แช่ รับหน้าที่ออกแบบเครื่องหมายต่างๆของคณะ และอาณัติสัญญาณ นายทหารนอกนั้นให้เป็นฝ่ายคุมกำลัง เมื่อลงมือปฎิวัติ5 ให้ทุกคนช่วยด้านกำลังเงินคนละ 5 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนที่ได้รับอยู่ เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการนี้ การเงินมอบให้นายทะเบียน แล้วนายทะเบียนมอบให้หัวหน้าคณะ นายอุทัยได้มอบเงินให้หัวหน้าโดยตรงเป็นเงิน 1000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อมาในระยะเวลาไล่เลี่ยกันนั้น คณะปฎิวัติก็ได้ประชุมกันอีก ณ สถานที่เดิม เมื่อวันที่ 27 มกราคม มีสมาชิกมาประชุมกัน 31 คน สมาชิกใหม่ 11 คน คือ1) ร้อยตรี วาส วาสนา2) ร้อยตรี ถัด รัตนพันธ์3) ร้อยตรี เหรียญ ทิพยรัตน์ทั้งสามคนนี้ ประจำกรมมหาดเล็กรักษาพระองค์4) ร้อยตรี สง่า เรขะรุจิ5) ร้อยตรี จาบ6) ร้อยตรี ปรีดา7) ว่าที่ร้อยตรี ศิริ ชุณห์ประไพทั้งสี่คนนี้ประจำกรมทหาราบที่ 11 รักษาพระองค์8) ร้อยตรี อ๊อด จุลานนท์9) พ.อ. พระอร่ามรณชิต10) ร้อยตรี หรี่ บุญสำราญ11) ร้อยตรี สุดใจการประชุมครั้งนี้ ฝ่ายวางแผนได้กำหนดโครงการไว้ว่า จะลงมือทำการปฎิวัติในวันถือน้ำพิพัฒน์สัตยาบันต้นเดือนเมษายน ตรงกับศกใหม่ ร.ศ. 130 ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งสมัยนั้น บรรดาข้าราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม ต้องมีหน้าที่ถวายสัตย์ปฏิญาณสาบานตนต่อพระแก้วมรกต เฉพาะพระพักตร์พระมหากษัตริย์ พระประมุขของชาติ ในท่ามกลางพระบรมวงศ์จักรี มุขอำมาตย์ ราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ และสมณะชีพราหมณาจารย์ ด้วยวิธีดื่มน้ำที่แช่ด้วยคมหอกคมดาบ เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีต่อพระประมุขของชาติ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งกายวาจาใจ โดยทั่วกันทุกคน และในโอกาสนี้คณะปฎิวัติจะใช้ปืนใหญ่ยิงขึ้นท้องสนามหลวงเป็นอาณัติสัญญาณ โดยกรมปืนใหญ่ที่1 รักษาพระองค์ และที่บางซื่อโดยกรมปืนใหญ่ที่ 2 เป็นสัญญาณให้หน่วยกำลังกล้าตายของคณะปฎิวัติ ได้รีบกระทำการทันที ให้เอาสนามหลวงเป็นแหล่งชุมนุมพลแหล่งใหญ่ ทางด้านกฎหมาย ก็ได้ทำการค้นคว้าหาหลักการแห่งรัฐธรรมนูญนานาชาติ เพื่อร่างกฎหมายเตรียมการไว้อย่างพร้อมสรรพมีการประชุมกันอีกหลายครั้ง และในครั้งที่4 นั้นก็มีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นอีกหลายคน เช่น ร้อยตรี ลี้ ร้อยตรี ละม้าย ร้อยตรี สะอาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา ร้อยตรี บรรจบ ว่าที่ร้อยตรีชอุ่ม นาย เซี๊ยง สุวงค์ (พระยารามบัณฑิตสิทธิเศรณี) ร้อยตรี แช่ม ปานสีดำการประชุมได้ดำเนินไปอีกหลายครั้ง และมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นายทหารหน่วยกำลังเป็นพรรคพวกคณะปฎิวัติเกือบทั้งสิ้น และนอกจากเผยแพร่หาสมัครพรรคพวกในพระนครแล้ว ยังขยายกว้างออกไปยังต่างจังหวัดอีกด้วยในที่สุดคณะปฎิวัติก็มีสมัครพรรคพวกเพิ่มมากขึ้นทุกที ทหารที่จะมาอยู่ในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาบันนั้น ทุกเหล่าพร้อมอาวุธ มาตั้งแถวเป็นเกียรติยศรับเสด็จพระราชดำเนินที่สนามหญ้าหลังวัดพระแก้ว ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์และทหารราบที่11 รักษาพระองค์ที่ถือปืนติดดาบปลายปืน ยืนยามรักษาพระองค์อยู่หน้าประตูโบสถ์ ซึ่งที่จะอยู่ใกล้ชิดพระเจ้าอยู่หัวมากที่สุด คือทหารของคณะปฎิวัติทั้งสิ้น เป็นการแสดงให้เห็นว่า ฝ่ายวางแผนได้ดำเนินการไปอย่างรัดกุมที่สุดและตามแผนของคณะปฎิวัตินั้น ทหารจะไม่ต่อสู้กันเลย แม้นายทหารจะออกคำสั่ง ทหารทั้งหลายจะตกอยู่ในการบังคับบัญชาของคณะปฎิวัติอย่างสิ้นเชิง และเพื่อความไม่ประมาท คณะปฎิวัติจึงต้องมีหน่วยกล้าตาย ออกทำการควบคุมตามจุดสำคัญๆ ไว้ด้วยทั้งสิ้นในการปฎิวัติครั้งนี้ จุดมุ่งหมายอันใหญ่ยิ่งของคณะปฏิวัติ ก็คือ ไม่ต้องการให้มีการนองเลือดอย่างปฎิวัติในฝรั่งเศส และอังกฤษ ในสมัยพระเจ้าชาลส์ที่14 หรือการปฎิวัติโค่นล้มราชวงศ์แมนจู และการปฎิวัติในรัสเซีย เว้นแต่ว่าหลีกเลี่ยงมิได้จุดมุ่งหมายแรกคือการทูลเกล้าถวายหนังสือแด่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ให้ได้ทรงพิจารณาอย่างรอบคอบ และมีพระบรมราชวินิฉัยให้เป็นไปตามหนังสือของคณะปฎิวัติ คือลดพระราชอำนาจลงมาอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ อันจะนำพาประเทศก้าวสู่ความก้าวหน้าเยี่ยงอารยะประเทศ แต่หากมิได้เป็นไปตามความมุ่งหมายนี้ คณะปฎิวัติก็จำเป็นจะต้องใช้กำลังรุนแรงก็อาจเป็นได้เนื่องจากการปฎิวัติครั้งนี้ จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทหารในต่างจังหวัดด้วย เพราะทหารเหล่านี้อาจเป็นอุปสรรคอันใหญ่ยิ่งในการปฎิวัติครั้งนี้ ด้วยเหตุนี้เอง คณะปฎิวัติจึงได้ส่งคนไปเกลี้ยกล่อมทหารตามจังหวัดต่างๆ ไว้เป็นพวก โดยคณะปฎิวัติได้ตกลงกันว่า มณฑลอยุธยา มีหน่วยทหารกองพลที่ 3 ประจำอยู่ และอยู่ใกล้พระนคร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเอาไว้เป็นสมัครพรรคพวก จึงได้ให้ร้อยตรี ม.ร.ว.แช่ รัชนีกร ไปเกลี้ยกล่อม ส่วนในมณฑลอื่น เช่น มณฑลนครไชยศรี เป็นหน้าที่ของ ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ กับ ร.ต.จรูญ ษตะเมษ มณฑลราชบุรี เพชรบุรี ให้ ร.ต. บุญ แตงวิเชียร และ ร.ต.โกย ไปเกลี้ยกล่อม สำหรับมณฑลนครสวรรค์ มอบหมายให้ ร.ต.จันทร์ ปานสีแดงการไปเกลี้ยกล่อมทหารต่างจังหวัดนั้นได้ผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนมากทหารหนุ่มยินดีให้ความร่วมมือด้วย แต่พวกนายทหารชั้นผู้ใหญ่นั้นไม่เอาด้วยร.ต. ทวน เธียรพิทักษ์ สมาชิกคณะปฎิวัติคนหนึ่งได้เสนอที่ประชุมว่า ได้ชักชวนสมาชิกใหม่คนหนึ่งไว้นานแล้ว ขณะนี้กำลังจะเดินทางไปรับตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชา ทหารปืนใหญ่ที่ 7 ที่พิษณุโลก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไว้ใจได้ บุคคลผู้นั้นคือ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ (ยุทธ คงอยู่) แต่ ร.ต. เนตร ซึ่งเป็นเลขาธิการนุการคัดค้านไม่เห็นด้วย โดยกล่าวว่า ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ เคยเป็นศิษย์วัดเบญจมบพิตรมาด้วยกัน รู้นิสัยใจคอคนผู้นี้ดีว่าเป็นคนที่ไม่น่าไว้วางใจ นิสัยโลเล พูดจาไม่แน่นอน ไม่จริงใจ เป็นคนน่ากลัว ชอบให้ร้ายป้ายสี ถ้าเอามาเป็นพวกก็เกรงว่า ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ อาจจะเป็นภัยแก่การปฎิวัติครั้งนี้ก็ได้คำคัดค้านของ ร.ต. เนตร ทำให้สมาชิกชักจะเริ่มลังเล เพราะบุคคลิกของ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ตามที่ ร.ต. เนตร ได้อ้างมานั้น แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ มิใช่นักปฎิวัตอาจจะเป็นคราวเคราะห์ของคณะผู้ก่อการปฎิวัติ ร.ศ. 130 เพราะที่ประชุมไม่สามารถระงับไว้ได้ โดย ร.ต.ทวน ได้นำ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ เข้ามาในที่ประชุม ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นในบ่ายของวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2454 ขณะนั้นการประชุมได้ดำเนินไปก่อนหน้านั้นแล้ว จึงไม่สามารถระงับได้ทัน เพราะในระหว่างที่อยู่นั้น ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ก็โผล่เข้ามา ร.ต. ทวน รีบออกไปต้อนรับอย่างเพื่อนสนิท สมาชิกทั้งหลายต่างพลอยแสดงความยินดีไปด้วย เพราะล้วนแต่เคยรู้จักกันมาก่อนแล้วทั้งสิ้นและทันที่ที่ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ก้าวเข้าไปในที่ประชุม ก็ได้เกิดปรากฎการณ์แปลกประหลาด คือ แก้วนำยาอุทัยที่ตั้งอยู่กับพื้นเกิดแตกโพล๊ะเป็นสองท่อนขึ้นมาโดยไม่ทราบสาเหตุ ทุกคนถึงกับตกตะลึง และพากันเข้าใจว่า น่าจะเป็นลางร้าย แต่ ร.ท. เจือ ได้พยายามพูดจากลบเกลื่อนไปในทางที่ดีและเป็นสิริมงคลเสีย ทั้งหมดจึงได้คลายวิตกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และประชุมกันต่อไป และมีพิธีสาบาน โดยเอาลูกกระสุนปืนแช่ในเหยือกน้ำ พร้อมกับคำสาปแช่งอย่างร้ายแรงว่า " ทุกคนจะต้องสุจริตต่อกัน ผู้ใดคิดการทรยศต่อคณะนี้จงพินาศ" จากนั้นก็รินน้ำสาบานให้ทุกคนดื่มหมอเหล็ง ศรีจันทร์ ประธานในที่ประชุม ได้ชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ในการปฎิวัติครั้งนี้ และแผนการณ์ต่างให้สมาชิกใหม่ทราบ โดย ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ มีความขัดข้องใจเรื่องราชวงศ์จักรี เกรงว่าจะกระทบกระเทือน ทำให้ประชาชนไม่พอใจ หมอเหล็ง ก็ได้อธิบายว่า" .....เป็นความจำเป็น เพราะทั่วโลกเขาก็ทำกันอย่างนี้ เพราะบ้านเมืองเต็มไปด้วยความยากจน ในราชสำนักนั้นก็ฟุ้งเฟ้อ ไม่ผิดอะไรกับราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 การกระทบกระเทือนย่อมต้องมีบ้าง เพียงแต่พระมหากษัตริย์ลดพระราชอำนาจลงมาอยู่ ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญเท่านั้น สำหรับประชาชนนั้นจะได้แถลงนโยบายให้ทราบโดยทั่วกัน และพวกเขาทุกคนน่าจะพอใจที่จะได้ปกครองตนเอง ตามระบบประชาธิปไตย ซึ่งคงไม่มีปฎิกิริยาจากประชาชนเป็นแน่ ..."ด้วยบุญญาธิการ อภินิหาร หรืออาจจะยังไม่ถึงคราวที่ ราชวงศ์จักรี จะสิ้นอำนาจ ก็ตาม ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ที่ ร.ต. เนตร วิจารณ์ว่าเป็นบุคคลที่ไม่น่าไว้วางใจนั้น อาจจะไม่เห็นด้วยกับคณะปฎิวัติ หรือยังมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรืออาจจะเกรงกลัวอาญาแผ่นดิน หรือจะด้วยอะไรก็ตามแต่เถิด.....เพราะในที่สุด ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ก็จับเบอร์ได้เป็นผู้ที่จะลอบปลงพระชนม์พระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อพระองค์จะเสด็จกลับจารพระราชวังสนามจันทร์ โดยทางรถไฟพระที่นั่ง ที่สถานีบางกอกน้อย อันเป็นแผนการณ์ของคณะปฎิวัติ ร.ศ.130 ตามที่ได้ตกลงกันไว้ และแผนต่อไปคือ การจับกุมตัวพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ไว้เป็นหลักประกัน โดยแผนการณ์ครั้งนี้เป็นแผนการณ์ที่ค่อนข้างจะร้ายแรงมาก เป็นการเสี่ยงมากทีเดียวอาจเป็นเพราะ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ไม่เห็นด้วยกับแผนการณ์ในครั้งนี้ หรือเพราะ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ไม่มีหัวที่จะเป็นนักปฎิวัติ และยิ่งตนเองจะต้องเป็นผู้ลงมือด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ หนักใจยิ่งนัก และเมื่อหาทางออกอื่นไม่ได้แล้ว จึงได้ตัดสินใจนำความลับนี้ไปปรึกษา ร.ท. ทองอยู่ (พ.ท. พระตะบะ) มหาดเล็กคนโปรดของพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯเมื่อ ร.ท. ทองอยู่ (พ.ท. พระตะบะ) ได้ทราบเรื่องราวทั้งหมดแล้ว ก็พา ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ เข้าเฝ้าหม่อมเจ้าพันธุประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่1 รักษาพระองค์ที่บางซื่อ โดยหม่อมเจ้าพันธุประวัติ ได้นำความกราบทูลเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ในตอนเย็นวันนั้นเองสมเด็จเจ้าฟ้าฯทรงทราบเรื่องก็รู้สึกวิตกพระทัยยิ่งนัก เพราะพระองค์ไม่ทรงได้คาดฝันมาก่อน เพราะบุคคลในคณะปฎิวัติ ร.ศ.130 นั้นเป็นลูกศิษย์ เป็นมหาดเล็กผู้ใกล้ชิด และตัวหมอเหล็งเองก็เป็นถึงแพทย์ประจำพระองค์ ซึ่งทรงโปรดปรานให้เข้าเฝ้าใกล้ชิด สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯจึงได้รีบรุดไปเข้าเฝ้ากราบบังคับทูล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยขบวนรถไฟพิเศษเมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ เสด็จไปถึงก็รีบเข้าเฝ้าทูลเชิญเสด็จพระเจ้าอยู่หัวไปพบเพียงลำพังสองต่อสอง เพื่อกราบทูลพฤติการณ์สังหารโหด ของคณะปฎิวัติ ร.ศ. 130 ซึ่งมุ่งหมายจะเปลี่ยนการปกครอง มาเป็นลัทธิประชาธิปไตย และมีแผนสังหารพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสดับรับฟังด้วยพระทัยอันทรงพระวิตก จึงได้มีพระราชดำรัสให้ สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ รีบดำเนินการกับผู้คิดร้ายต่อราชบัลลังก์โดยด่วนที่สุด ส่วนทางกองเสือป่าที่กำลังฝึกซ้อมอยู่ในขณะนั้น ก็สั่งให้เลิกซ้อมในทันทีทันใดการจับกุมตัวพวกคณะปฎิวัติ ได้กระทำกันอย่างรวดเร็วมาก โดยหลังจากที่กลับจากเข้าเฝ้ากราบบังคับทูลแล้ว ก็ได้ออกคำสั่งลับเฉพาะด่วนมาก เรียกประชุมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ตั้งแต่ผู้บังคับการขึ้นไป ณ ห้องประชุมกลาโหม สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯทรงเป็นประธาน โดยประตูห้องประชุมปิดหมด เพื่อมิให้ผู้ใดรู้เรื่องการประชุมในครั้งนี้เวลา 11.00 น. สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ก็มีคำสั่งให้นายทหารชั้นผู้ใหญ่ออกทำการจับกุมพวกคณะปฎิวัติ ร.ศ. 130 โดยแบ่งเป็นสายๆ กว่าจะจับกุมตัวได้หมด ก็ใช้เวลาพอสมควร และได้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีการนองเลือดและต่อสู้ เพราะเหล่าพวกคณะปฎิวัตินั้นไม่เตรียมตัว เพราะต่างกำลังเฝ้าคอยข่าวคราวที่ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ จะไปปฎิบัติ ว่าจะได้ผลเพียงใด จึงมิได้เตรียมการณ์ป้องกันเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งหมดจึงถูกจับกุมโดยละม่อม ปราศจากการขัดขวางและแข็งขืน หรือต่อสู้หลังจากจับกุมนักปฎิวัติได้ทั้งหมดแล้ว ก็มีพระบรมราชโองการ ให้ตั้งคณะกรรมการศาลทหารขึ้น โดยประกอบด้วยจอมพล พระยาบดินทร์เดชานุชิต (ม.ร.ว. อรุณ ฉัตรกุล) ปลัดทูลฉลอง กระทรวงกลาโหม เป็นประธานพลเอก พระยาศักดาวรเดช (แย้ม ณ นคร ) จเรทหารบกพลตรี พระยาพิชัยสงคราม (เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร)น.อ. พระยาวิจิตรนาวีน.อ. พระยาสุนทรา (พระยาวินัยสุนทร) กรมพระธรรมนูญทหารเรือและนายทหารกรมพระธรรมนูญทหารเรืออีก 2 ท่าน โดยรัฐบาลได้ขนานนามกลุ่มนักปฎิวัติ ร.ศ. 130 กลุ่มนี้ว่า "สมาคมก่อการกำเริบ" ไม่ใช้คำว่ากบฎ และการคุมขังนั้นได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ คุมขังที่ต่างประเทศ คุมขังที่กระทรวงกลาโหม และคุมขังหรือกักบริเวณตามกรมกองต่างๆการสอบสวนของคณะกรรมการศาลทหาร เริ่มด้วยการพิมพ์หัวข้อคำถาม 13 ข้อ ให้ผู้ต้องหาตอบชี้แจง คำถามเหล่านี้ส่งไปยังที่คุมขังทุกแห่ง แล้วรวบรวมคำตอบของผู้ต้องหาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเป็นกองๆ เพื่อค้นหาสาเหตุและหลักฐานของการกระทำผิด ของแต่ละบุคคล ว่าใครทำผิดหนักเบาต่างกันเพียงไรคณะกรรมการสอบสวนชุดนี้ ใช้ห้องกลางมุขด้นหลังกระทรวงกลาโหมชั้น3 เป็นศาลทหาร พวกที่ถูกเรียกตัวมาสอบสวนที่ศาลทหารในกระทรวงกลาโหม ก็คือผู้ต้องหาประเภทที่1 ที่ถูกคุมขังอยู่ในคุกต่างประเทศ ศาลได้ส่งกรรมการเข้าไปไต่สวน หรือเผชิญสืบภายในคุกเอง โดยทางเรือนจำได้จัดห้องพิเศษไว้ให้เป็นการเฉพาะ สำหรับเจ้าหน้าที่และกรรมการศาลทหาร การสอบสวนและสืบสวน ได้ดำเนินการกันอย่างเคร่งเครียดสำหรับคำให้การของหมอเหล็ง ศรีจันทร์ หัวหน้าคณะปฎิวัติ ร.ศ. 130 มีความตอนหนึ่งว่า" เพียงมีการหารือกันเพื่อทำหนังสือทูลเกล้าฯถวาย ในอันจะขอพระมหากรุณาธิคุณ ให้องค์พระมหากษัตริย์ ทรงปรับปรุงการปกครองให้สอดคล้องกับกาลสมัย โดยเปลี่ยนการปกครองเป็นลิมิเต็ดมอนากี้ มิได้มีการตระเตรียมกำลัง ที่จะยึดอำนาจแต่อย่างใด"กรรมการท้วงว่า...." ถ้าไม่มีกำลังทหารบีบบังคับแล้ว พระมหากษัตริย์จะทรงยินยอมหรือ..."หมอเหล็งได้อ้างถึงประเทศญี่ปุ่น ที่พระมหาจักรพรรดิทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชน ทำให้คณะกรรมการถึงกับอึ้งไปคำให้การของ ร.ท. เจือ เสนาธิการผู้วางแผนการณ์ ก็เป็นไปในแนวทางเดียวกับหมอเหล็ง ศรีจันทร์ แต่ได้เพิ่มเหตุผลบางประการเกี่ยวกับการทหาร โดยเกรงว่าจะไม่เป็นไปตามหลักวิชาเสนาธิปัตย์ ทุกคนได้ศึกษามาจากทูลกระหม่อมจักรพงษ์ฯ และผู้ทรงคุณวุฒิในวิชาการทหารในขณะนั้นคำให้การของ ร.ต. วาส วาสนา เป็นไปแบบขวานผ่าซากว่า..." ตามทัศนะของเขาเห็นว่า ราชการแผ่นดินสมัยนั้น เป็นประหนึ่งตุ๊กตาเครื่องเล่นของประเทศ จะยึดอะไรเป็นล่ำเป็นสันสักอย่างก็ไม่ได้ เขาเป็นมหาดเล็กได้เห็นพฤติกรรมในราชสำนักมาเป็นอย่างดี"คำให้การของ ร.ต. ถัด รัตนพันธ์ ว่า...." เขาพอใจที่จะคิดเปลี่ยนแปลงประเพณีการปกครอง เพราะการเล่นโขนเล่นละครเสียเองของประมุขแห่งชาตินั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติเลย มีแต่เสื่อมเสียพระเกียรติคุณแก่นานาประเทศ และมีผลกระทบกระเทือนถึงชาติ และประชาชนอีกด้วย ควรให้เป็นหน้าที่ของคนอื่นเขาแสดงและจัดการ การมีกองเสือป่าก็เช่นกัน ทำให้สิ้นเปลืองเงินของแผ่นดิน ทำให้ข้าราชการทหารและพลเรือนแตกร้าวกัน ซึ่งเคยมีตัวอย่างมาแล้วในประเทศเตอรกี...."ประธานแก้แทนองค์พระประมุขต่างๆ นานา ว่า..."คนเราจะทำงานอย่างเดียวตะพึดตะพือไปได้อย่างไร ต้องมีการเล่นหัวบ้าง เพื่อเป็นการหย่อนพระราชหฤทัย จะได้ทรงพระราชภาระได้ต่อไปอีกนานๆ..."สำหรับ ร.ท. เนตร นั้น แม้คณะกรรมการจะพยายามซักไว้อย่างไร ก็ปฎิเสธมาโดยตลอดและการพิจารณาในตอนแรก รัฐบาลลงโทษเพียง 3 ปี 5 ปีเท่านั้น แต่ก็มีเหตุที่ ร.ท. จรูญ ณ บางช้าง ออกกุศโลบายเพื่อข่มขู่รัฐบาล คือ ทำจดหมายขึ้นฉบับหนึ่ง มีใจความย่อๆว่า ถ้าสมาชิกคณะปฎิวัติถูกจำจอง หรือถูกคุมขัง แม้แต่คนเดียว ก็ให้ปืนใหญ่ 2 พร้อมกับเหล่าอื่นทำการได้ แล้วปาจดหมายให้ตกบริเวณกำแพงคุก ผู้คุมเก็บไว้ได้ และเสนอไปตามลำดับชั้น ความทราบถึงพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นกำลังพิจารณาคำพิพากษาของกรรมการศาลทหารอยู่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็เลยทรงงดพระราชวินิจฉัยส่งกลับไป พร้อมกับจดหมายฉบับนั้น ให้กรรมการทำการสอบสวนกันใหม่ เพราะคณะปฎิวัติมิได้มีความประสงค์ จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมืองเท่านั้น กลับสมคบกันประทุษร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ด้วยร.ต. เจือ และ ร.ท. จรูญ ถูกคุมขังอุกฤษฎ์โทษ รวมทั้งคณะปฎิวัติทั้งหมดด้วย การสอบสวนครั้งที่2 ดำเนินต่อมาจนถึงเดือนพฤษถาคม 2454 คำพิพากษาของศาลทหาร ถวายขึ้นไปกราบทูลเป็นครั้งที่2 เพื่อขอพระราชวินิจฉัยขั้นเด็ดขาดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2454 คณะกรรมการศาลทหารทั้ง 7 ท่าน ได้สนองพระราชโองการ นำคำพิพากษาไปอ่านให้ผู้ต้องหาในคุกต่างประเทศฟัง โดยมีผู้ต้องหาประเภทนี้ 10 คนคณะกรรมการศาลทหารเดินเข้าไปที่ประตูห้องขัง และกล่าวว่า...." พวกเธอทั้งหลาย คงซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณดีแล้ว ที่โปรดยกโทษอุกฤษฎ์ให้ คงเหลือแต่จำคุกเท่านั้น หาใช่เพียงแต่เท่านั้นไม่ พระองค์ยังทรงพระมหากรุณาแก่พวกเธอต่อไปอีกเป็นแน่ ถ้าพวกเธอได้ประพฤติตนให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย อย่าได้กระทำการใด ซึ่งเป็นภัยแก่ตนเองอีก..."และในตอนบ่ายวันเดียวกันนั้นเอง เวลา 14.00 น. คณะกรรมการก็ได้เบิกตัวผู้ต้องหาประเภทที่2-3 ประมาณ 13 คน คือพ.ต. นายแพทย์หลวงวิฆเนศร์ประสิทธิ์วิทย์ (อัทย์ หะสิตเวช)ร.ท. ทองดำ คล้ายโอภาสร.ต. บ๋วย บุณยรัตพันธุ์ร.ต. ปลั่ง บูรณะโชติร.ต. เจือ ศิลาอาสน์ร.ต. เหรียญ ทิพยรัตน์ร.ต. จรูญ ษตะเมษร.ต. เนตร พูนวิวัฒน์ร.ต. สอน วงษ์โตร.ต. โกย วรรณกุลร.ต. จันทร์ ปานดำร.ต. ถัด รัตนพันธุ์ร.ต. ศิริ ชณหประไพทุกคนอยู่ในชุดทหารตามยศ แต่ไม่ขัดกระบี่ เพื่อไปฟังคำพิพากษา และพระบรมราชวินิจฉัยเด็ดขาด แต่ทุกคนอยู่ในอาการสงบ เพราะทราบดีอยู่แล้วว่า จะมีเหตุร้ายดีอะไรเกิดขึ้นในอนาคต ต่อมาทุกคนถูกถอดเครื่องแบบออกหมด และมีการสวมกุญแจมือ ก่อนที่จะเข้าไปในห้องประชุมต่อมาคณะกรรมการก็เข้านั่งโต๊ะพร้อมกัน พระยาพิชัยสงคราม เป็นผู้อ่านคำพิพากษา ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2454 มีใจความสำคัญดังนี้"เรื่องก่อการกำเริบ ตามที่คณะกรรมการได้พิจารณาแล้ว เรื่องเดิมมีนายทหารบกบ้าง ทหารเรือบ้าง พลเรือนที่ทำงานอยู่ในกระทรวงยุติธรรมบ้าง ได้สมคบคิดกัน ด้วยมูลความประสงค์คิดจะเปลี่ยนแปลงราชประเพณีการปกครองของพระราชอาณาจักร ได้ประชุมตั้งสมาคม เมื่อเดือนมกราคม ร.ศ.130 แล้วได้ประชุมกันต่อๆมาอีก ราว 8 คราว ตระเตรียมกันทำการกบฎ ถึงประทุษร้ายพระเจ้าแผ่นดิน กระทรวงกลาโหมทราบเรื่องนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ.130 จึงได้จับนายทหารบกซึ่งเป็นหัวหน้า และคนสำคัญในสมาคมนี้ จัดการไต่สวนตลอดจนพรรคพวก กระทรวงกลาโหมได้ทำรายงานตามที่ไต่สวน และนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายทหารบก ทหารเรือ รวม 7 นาย เป็นกรรมการพิจารณาทำคำปรึกษาโทษ ขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา มีใจความที่วินิจฉัย ตามที่ได้พิจารณาได้ความว่า ผู้ที่รวมคบคิดในสมาคมนี้ มีความเห็นจะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นลีพับปิกบ้าง เป็นลิมิเต็ดมอนากี้บ้าง ส่วนที่จะจัดการอย่างไร จึงจะเปลี่ยนแปลงการปกครองได้นั้น ปรากฎอยู่ในที่ประชุมถึงการกระทำการประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องนี้เดิมทีดูเหมือนสมาคมนี้ ตั้งขึ้นมาเพื่อจะเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมือง แต่ครั้นพิจารณาตลอดแล้วกลับได้ความว่า สมคบกันเพื่อประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย แม้บางคนจะไม่มีเจตนาโดยตรง ที่จะประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี แต่ได้สมรู้เป็นใจและช่วยปกปิด เพราะฉะนั้น ตามลักษณะความผิดนี้ กระทำผิดต่อกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 97 ตอนที่2 มีโทษประหารชีวิตด้วยกันทุกคน บางคนกระทำผิดมาก ไม่สมควรได้ลดโทษเลย แต่บางคนกระทำผิดน้อยบ้าง ได้ให้การสารภาพให้เป็นประโยชน์ในทางการพิจารณาบ้าง และมีเหตุผลอื่นสมควรได้ลดหย่อนความผิดบ้าง อันเป็นเหตุควรลดโทษฐานปราณี ตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 37 และมาตรา 59 จึงกำหนดโทษ 5 ขั้น ดังนี้ชั้นที่ 1. ให้ลงโทษประหารชีวิต 3 คนชั้นที่ 2. ลดโทษลง เพียงจำคุกตลอดชีวิต 20 คนชั้นที่ 3. ลดโทษลง เพียงจำคุกมีกำหนด 20 ปี 32 นายชั้นที่ 5. ลดโทษลง เพียงจำคุกมีกำหนด 12 ปี 30 คนมีผู้ต้องคำพิพากษาศาลทหารเพียง 91 คนเท่านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัยเด็ดขาด ลงวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 ดังนี้"ได้ตรวจคำพิพากษาของศาลทหาร ซึ่งได้พิจารณาปรึกษาโทษคดีผู้มีชื่อ 91 คน ก่อการกำเริบ ลงวันที่ 4 พฤษภาคมนั้นตลอดแล้ว เห็นว่ากรรมการพิจารณาพวกเหล่านั้น ชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมายทุกประการแล้ว แต่ความผิดของพวกเหล่านี้มีข้อสำคัญที่จะทำร้ายต่อเรา เราไม่ได้มีจิตพยาบาทคาดร้ายต่อพวกนี้ เห็นควรลดหย่อนผ่อนโทษโดยฐานกรุณา ซึ่งเป็นอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินที่จะยกโทษให้ได้ เพราะฉะนั้น บรรดาผู้มีชื่อ 3 คน ซึ่งวางโทษไว้ในคำพิพากษาของกรรมการ ว่าเป็นฐานชั้นที่1 ให้ประหารชีวิตนั้น ให้ลดโทษเป็นโทษชั้นที่ 2 ให้จำคุกตลอดชีวิต""บรรดาผู้มีชื่อ 20 คน ซึ่งลงโทษไว้เป็นชั้นที่2 ให้จำคุกตลอดชีวิตนั้น ให้ลดโทษลงเป็นชั้นที่3 ให้จำคุกคนละ 20 ปี ตั้งแต่วันนี้สืบไปบรรดาผู้มีชื่อ 68 คน ซึ่งวางโทษไว้ในชั้นที่3 ให้จำคุก 20 ปี 32 คน และวางโทษชั้นที่4 ให้จำคุก 15 ปี 6 คน และวางโทษชั้นที่5 ให้จำคุก 12 ปี 30 คนนั้น ให้รอลงอาญา ทำนองอย่างที่ได้กล่าวในกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 41 และ 42 ซึ่งว่าด้วยการลงโทษทางอาญาในโทษอย่างน้อยนั้น อละอย่าเพ่อให้ออกจากตำแหน่งก่อนแต่ผู้มีชื่อ 3 คน ที่ได้ลงโทษในชั้นที่2 กับผู้มีชื่ออีก 20 คน ที่ได้ลงโทษในชั้นที่3 รวม 23 คนดังกล่าวมาข้างต้นนั้น ให้ถอดออกจากตำแหน่งยศบรรดาศักดิ์ ตามอย่างธรรมเนียมซึ่งเคยมีแก่นักโทษเช่นนั้น"ในจำนวนผู้ที่ต้องรับพระราชอาญาจำคุก 32 คนนั้น เป็นพลเรือนคนหนึ่งคือ นายอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา กองล่ามกระทรวงยุติธรรม นอกนั้นเป็นทหารบก 22 คน ให้ถอดออกจากยศบรรดาศักดิ์แล้ว คือจำคุกตลอดชีวิตร.อ. ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์)ร.ท. จรูญ ณ บางช้างร.ต. เจือ ศิลาอาสน์จำคุก 20 ปีร.ท. เจือ ควกุลร.ต. เขียน อุทัยกุลร.ต. วาส วาสนาร.ต. ถัด รัตนพันธ์ร.ต. ม.ร.ว. แช่ รัชนีกรร.ต. เหรียญ ศรีจันทร์ร.ต. เหรียญ ทิพยรัตน์ร.ต. ทวน เธียรพิทักษ์ร.ต. เนตร พูนวิวัฒน์ร.ต. สอน วงค์โตร.ต. ปลั่ง บูรณโชติร.ต. จรูญ ษตะเมษร.ท. ทองดำ คล้ายโอภาสร.ต. บ๋วย บุณยรัตนพันธ์ว่าที่ ร.ต. ศิริ ชุณห์ประไพร.ต. จันทร์ ปานสีดำร.ต. โกย วรรณกุลพ.ต. หลวงวิฆเนศร์ประสิทธิ์วิทย์ร.ต. บุญ แดงวิเชียร
การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5
รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงศึกษาศิลปวิทยาเป็นอันมาก ทั้งในวิชาอักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ โบราณคดี ภาษาอังกฤษ ภาษาบาลี มวยปล้ำ วิชากระบี่กระบอง ตลอดจนวิชาวิศวกรรม อีกทั้งยังได้เสด็จประพาสต่างประเทศ ก่อนขึ้นครองราชย์สมบัติ เเละขณะขึ้นครองราชย์สมบัติอีกหลายครั้ง ดังนั้นในการปกครองประเทศพระองค์จึงนำเอาการบริหารต่างประเทศมาดัดแปลงให้เข้ากับประเทศไทย เช่น การจัดทหาร ก็ให้ฝึกตามแบบอย่างของฝรั่ง การศาลก็มีการแก้ไขกฎหมายและกระบวนการพิจารณาความต่างๆ ให้รัดกุมและเหมาะสมยิ่งขึ้น ยกเลิกวิธีพิจารณาความด้วยการทรมานต่างๆที่ผิดมนุษยธรรม ทรงจัดตั้งกระทรวงขึ้นบริหารราชการ ยิ่งกว่านั้นยังทรงโปรดการประพาสตามหัวเมืองต่างๆ เพื่อทรงทราบความทุกข์สุขของประชาชนของพระองค์อยู่เสมอการปฏิรูปการปกครองในรัชกาลที่ 5 มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินดังนี้ ตั้งสภาแผ่นดิน 2 สภาได้แก่
1. รัฐมนตรีสภา ประกอบด้วยขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ มีพระองค์ท่านเป็นประธาน รัฐมนตรีสภามีหน้าที่ถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดิน รวมทั้งพิจารณาพระราชบัญญัติ พระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ
2. องคมนตรีสภา ประกอบด้วยสมาชิก 49 คน ทำหน้าที่เป็นสภา ที่ปรึกษา ราชการในพระองค์และมีหน้าที่ปฏิบัติราชการแผ่นดินตามแต่จะมีพระราชดำรัส ปฏิรูปองค์การบริหารในส่วนกลางใหม่ดังนี้กรมมหาดไทย กรมกลาโหม กรมเมือง กรมวัง กรมท่า และกรมนา คือ 6 กรมเดิมที่มีมาและต่อมาได้ตั้งขึ้นใหม่อีก 6 กรม ได้แก่ กรมพระคลัง กรมยุติธรรม กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ กรมยุทธนาธิการ และ กรมมุรธาธร รวมเป็น 12 กรม ต่อมายกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง ภายหลังได้ยุบกระทรวงยุทธนาธิการเข้ากับ กระทรวงกลาโหม และ กระทรวงมุรธาธรรวมเข้ากับกระทรวงวัง คงเหลือ 10 กระทรวงดังนี้
1. กระทรวงมหาดไทย
2. กระทรวงกลาโหม
3. กระทรวงนครบาล
4. กระทรวงการต่างประเทศ
5. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
6. กระทรวงวัง
7. กระทรวงเกษตราธิการ
8. กระทรวงยุติธรรม
9. กระทรวงโยธาธิการ
10. กระทรวงธรรมการ
กระทรวงธรรมการกระทรวงต่าง ๆ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1. กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือรวมทั้งประเทศราศทางเหนือ
2. กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ กรมทหารเรือ กรมช้าง กรมแสง
3. กระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่จัดการเรื่องเกี่ยวกับการต่างประเทศ
4. กระทรวงนครบาล มีหน้าที่จัดการในเรื่องความปลอดภัยในพระนคร
5.กระทรวงวัง มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องในราชสำนักและพระราชพิธีต่าง ๆ
6. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีหน้าที่บังคับบัญชาการเก็บภาษีอากรและการเงินของแผ่นดิน
7. กระทรวงเกษตรและพาณิชยการ มีหน้าที่จัดการเรื่องเพาะปลูก การป่าไม้ การค้า และโฉนดที่ดิน
8. กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่จัดการเรื่องเกี่ยวกับศาล
9. กระทรวงยุทธนาธิการ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับทหารบกและทหารเรือ
10. กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องศาสนา การศึกษา การพยาบาล และพิพิธภัณฑ์
11. กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องการก่อสร้าง การไปรษณีย์ การสื่อสาร
12. กระทรวงมุรธาธร มีหน้าที่ดูแลรักษาพระราชลัญจกร หนังสือราชการเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์กระทรวงต่างๆกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง สื่อมวลชนไทย มักจะเรียกขาน กระทรวงมหาดไทย ว่า กระทรวงคลองหลอดหน้าที่และความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย สรุปได้ 4 ประการ คือ
1.ด้านการเมืองการปกครอง กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการอำนวยการเลือกตั้ง ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย และการรักษาความมั่นคงของชาติ
2.ด้านเศรษฐกิจ กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพและความเป็นอยู่ของประชาชน รับผิดชอบการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร การพัฒนาแหล่งน้ำ
3. ด้านสังคม กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชน และการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม เป็นต้น
4.ด้านการพัฒนาทางกายภาพ กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดชุมชนการจัดที่ดิน และการให้บริการสาธารณูปโภคในเขตเมือง กระทรวงกลาโหมเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลที่รับผิดชอบทางด้านการป้องกันประเทศ ประกอบด้วยหน่วยงานทางการทหารหลายสาขากระทรวงนครบาลในสมัยรัชกาลที่ 5ได้ทรงจัดตั้ง "กระทรวงนครบาล"ขึ้น มีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและการปกครองท้องที่ มีหน่วยงาน กรมกองตระเวน (ตำรวจ) และทรงแต่งตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศวรฤทธิ์ เป็นเสนาบดีว่าการกระทรวงนครบาล ทรงได้รับสนองพระบรมราชโองการล้นเกล้ารัชกาลที่
5 โดยปฏิรูปงานของกรมพลตระเวนหรือตำรวจนครบาลให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น และกำหนดระบบงานต่างๆขึ้นมามากมาย อันถือเป็นรากฐานสำคัญในการจัดระบบราชการ และของตำรวจนครบาลตั้งแต่นั้นมารัชกาลที่ 5 ทรงเร่งรัดงานตำรวจมีข้อมูลทางประวัติศาสตร์ปรากฏเป็นพระราชหัตเลขาหลายฉบับ ที่พระองค์ทรงเอาใจใส่ ดังนั้นการที่ตำรวจนครบาลในยุคปัจจุบันที่ถูกเร่งรัดงานจากผู้บังคับบัญชาระดับสูง กระทรวงการต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการต่างประเทศและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้ เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกราชการด้านการคลังออกจากกรมท่า ตราบัวแก้วจึงเป็นตราประจำตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์ กรมท่า และต่อมาเมื่อได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดระบบราชการใหม่โดยแบ่งเป็น 12 กระทรวง ตราบัวแก้ว จึงเป็นตราประจำเสนาบดีว่าการต่างประเทศ และกลายมาเป็นตราของกระทรวงการต่างประเทศกระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของแผ่นดิน การภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ซึ่งรัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่เพียงผู้เดียวตามกฎหมายและไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญาผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อำนาจหรือสัตยาบัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า การบริหารการคลังของประเทศประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากรและการจัดระบบการคลังกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่ส่งเสริมการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สร้างความเสมอภาคและโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมทางการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาวิชาชีพ ให้เอกชนมีส่วนร่วมในการศึกษา เน้นให้นิสิตนักศึกษามีโอกาสศึกษาต่อสูงขึ้นทั้งในท้องถิ่นและสถาบันเปิด เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้บริการแก่สังคม พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษให้ได้เรียนและแสดงออกในทางที่เหมาะสม ประวัติในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการก่อตั้ง "กระทรวงธรรมการ" ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ดูแลศาสนา การศึกษา การพยาบาล และพิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 ซึ่งกระทรวงธรรมการมีการเปลี่ยนชื่อไปมาหลายครั้งระหว่างชื่อ "กระทรวงธรรมการ" และ "กระทรวงศึกษาธิการ" อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 ก็ได้ใช้ชื่อว่า "กระทรวงศึกษาธิการ" ตั้งแต่นั้นมา โดยมีที่ทำการอยู่ที่ "วังจันทรเกษม" จนถึงปัจจุบันการบริหารราชการส่วนภูมิภาค โปรดฯให้จัดระเบียบบริหารราชการหัวเมืองใหม่ ให้ยกเลิกเมืองพระยามหานคร ชั้นเอก โท ตรี จัตวา และหัวเมืองประเทศราช โดยจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาล ให้อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทยเพียงกระทรวงเดียว ปรากฎว่าในปี พ.ศ. 2449 ได้จัดแบ่งพระราชอาณาจักรออกเป็น 18 มณฑลดังนี้ มณฑลลาวเฉียงหรือมณพลพายัพ มีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง มณฑลลาวพวนหรือมณฑลอุดร มีศูนย์กลางอยู่ที่หนองคาย มณฑลลาวกาวหรือมณฑลอีสาน มีศูนย์กลางอยู่ที่จำปาศักดิ์ มณฑลเขมร หรือมณฑลบูรพา มีศูนย์กลางอยู่ที่พระตะบอง มณฑลลาวกลางหรือมณฑลราชสีมา มีศูนย์กลางอยู่ที่นครราชสีมา มณฑลภูเก็ต มีศูนย์กลางอยู่ที่ภูเก็ต มณฑลพิษณุโลก มีศูนย์กลางอยู่ที่พิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มีศูนย์กลางอยู่ที่ปราจีนบุรี มณฑลราชบุรี มีศูนย์กลางอยู่ที่ราชบุรี มณฑลนครชัยศรี มีศูนย์กลางอยู่ที่นครปฐม มณฑลนครสวรรค์ มีศูนย์กลางอยู่ที่นครสวรรค์ มณฑลกรุงเก่า มีศูนย์กลางอยู่ที่อยุธยา มณฑลนครศรีธรรมราช มีศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราช มณฑลไทรบุรี มีศูนย์กลางอยู่ที่ไทรบุรี มณฑลจันทบุรี มีศูนย์กลางอยู่ที่จันทบุรี มณฑลปัตตานี มีศูนย์กลางอยู่ที่ปัตตานี มณฑลชุมพร มีศูนย์กลางอยู่ที่ชุมพร มณฑลกรุงเทพฯ มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเทพมหานคร มณฑลกรุงเทพฯ ประกอบด้วย 6 เมืองได้แก่ พระนคร ธนบุรี ปทุมธานี นนทบุรี นครเขื่อนขันธ์ และสมุทรปราการในปี พ.ศ. 2440 ทรงตราพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ขึ้น สำหรับจัดการปกครองในเขตอำเภอ ตำบลและหมู่บ้านการปรับปรุงกฎหมายและการศาลโปรดฯ ให้รวบรวมศาลที่สังกัดกระทรวงและไม่สังกัดทั้งหมด มาขึ้นกับกระทรวงยุติธรรมนับว่าเป็นการแยกอำนาจ ตุลาการ ออกจาก ฝ่ายบริหารได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยสิ่งที่ปรับปรุงแก้ไขทางด้านการศาลมีดังนี้1. ศาลในกรุง โปรดฯ ให้ตั้ง ศาลโปริสภา สำหรับทำหน้าที่เปรียบเทียบคดีความวิวาทของราษฎรที่เกิดขึ้นในท้องที่ และเป็นคดีที่มีโทษขนาดเบา ต่อมา ศาลโปริสภา ได้เปลี่ยนเป็น ศาลแขวง เมื่อ 1 ตุลาคม 24782. ศาลหัวเมือง โปรดฯ ให้จัดตั้งกองข้าหลวงพิเศษ ขึ้นคณะหนึ่งมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เป็นประธาน จัดการแก้ไขธรรมเนียมศาลยุติธรรมทั่วพระราชอาณาจักร ให้เป็นแบบเดียวกันทั้งหมด กองข้าหลวงพิเศษชุดนี้ มีหน้าที่สำคัญ 2 ประการคือ2.1 จัดตั้งศาลยุตธรรมสำหรับพิจารณาคดีขึ้นตามหัวเมืองทั้งปวงเสียใหม่2.2 ชำระสะสางคดีความที่ค้างอยู่ในศาลตามหัวเมืองต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไป3. จัดแบ่งชั้นของศาล เพื่อให้ระเบียบการศาลยุติธรรมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อบเป็นหลักฐานมั่งคงยิ่งขึ้น ก็โปรดฯให้ตราพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ขึ้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2451 โดยแบ่งศาลออกเป็น 3 แผนก คือ3.1 ศาลฎีกา 3.2 ศาลสถิตย์ยุติธรรมกรุงเทพฯ3.3 ศาลหัวเมืองสิ่งที่ปรับปรุงแก้ไขทางด้านกฎหมายมีดังนี้1. ได้จ้างชาวต่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย เข้ามารับราชการเป็นที่ปรึกษา เช่นดร. โรลัง ยัคมินส์ ชาวเบลเยี่ยม ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น เจ้าพระยาอภัยราชาสยามมานุกูลกิจนายโตกีจิ มาซาโอะ ชาวญี่ปุ่น ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น พระยามหิธรรมนูปกรณ์โกศลคุณนายวิลเลียม อัลเฟรด ติลเลเก ชาวศรีลังกา ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น พระยาอรรถการประสิทธิ์2. ได้โปรดฯให้ตั้ง กองร่างกฎหมาย สำหรับทำหน้าที่ตรวจสอบชำระบรรดาพระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ เพื่อให้ได้ ตัวบทกฎหมายที่ทันสมัยตามแบบอารยประเทศ โดยมีกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์เป็นประธาน3. ตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2440 โดยมีกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวง ยุติธรรมเป็นผู้อำนวยการ ด้วยเหตุนี้ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ จึงได้รับการว่าเป็น พระบิดาแห่งกฎหมายและการศาลไทย4. ยกเลิกการลงโทษแบบจารีตนครบาล จากผลการปฏิรูปการศาลและการชำระกฎหมายให้ทันสมัย ทำให้ การพิจารณาคดีแบบจารีตและวิธีลงโทษแบบป่าเถื่อนทารุณต่าง ๆ ได้ถูกยกเลิกไปโดยสิ้นเชิงการทหารเริ่มการฝึกทหารตามแบบยุโรปเพื่อใช้ป้องกันราชอาณาจักร ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นการฝึกทหารเกณฑ์ แบบยุโรปเพื่อใช้เป็นทหารรักษาพระองค์เท่านั้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดฯ ให้ปรับปรุงกองทัพดังนี้1. ปรับปรุงหน่วยทหารในกองทัพใหม่ จัดแบ่งออกเป็น กรม กอง เหล่า หมวด หมู่ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย พร้อมจัดอัตราเงินเดือนให้สอดคล้องกันและปรับปรุงอาวุธยุทธภัณฑ์ วิธีการฝึกตลอดจนเครื่องแบบให้ทันสมัยกำเนิดสถาบันกองทัพ2. ตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบก ตั้งกรมเสนาธิการทหารบก ตั้งโรงเรียนแผนที่ ตั้งโรงเรียนนายเรือ3. ส่งนักเรียนไปศึกษาวิชาการทหารในทวีปยุโรป อาทิ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครชัยศรีสุรเดช จบจากอังกฤษ เป็นเสนาธิการ ทหารบกคนแรกของไทย พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จบจากอังกฤษ เป็นนักเรียน นายเรือพระองค์แรก ของไทยและเป็นพระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย4. ตราพระราชบัญญัติการเกณฑ์ทหาร ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ 29 สิงหาคม 24485. สร้างเรือรบ อาทิ เรือพระที่นั่งจักรี เรือพาลีรั้งทวีป เรือสุครีพครองเมือง5. สร้างป้อมพระจุลจอมเกล้า ป้อมปู่เจ้าสมิงพราย เพื่อป้องกันข้าศึกทางทะเลการตำรวจ ขยายกิจการตำรวจนครบาล ให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในพระนคร ตั้งกรมตำรวจภูธรขึ้น เพื่อปราบปรามโจรผู้ร้ายและดูแลทุกข์สุข ของราษฎรในส่วนภูมิภาค ตั้งกรมตำรวจภูบาลขึ้น เพื่อช่วยเหลือตำรวจภูธร ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร ขึ้น ณ จังหวัดนครราชสีมา ต่อมาย้ายมาตั้งอยู่ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จังหวัดนครปฐม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)